Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

นักเรียนจากศูนย์ YSCภาคใต้ ม.วลัยลักษณ์ คว้า 5 รางวัล เวทีประกวด YSC 2024 ระดับประเทศ

อัพเดท : 06/03/2567

155

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์บริการวิชาการ ในฐานะศูนย์ประสานงานภูมิภาค ภาคใต้ โครงการ YSC (โครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 26 (The Twenty-Sixth Young Scientist Competition: YSC 2024)  ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ ผู้พัฒนาโครงงานตัวแทนจากภาคใต้ ที่คว้ารางวัลในการประกวดรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ระหว่างวันที่ 2 - 3 มีนาคม 2567 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี

1.รางวัลที่ 2 สาขาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชื่อโครงงาน: ผลของไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส และเจลาตินต่อสมบัติของฟิล์มย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากฟลาวร์กล้วย
ผู้พัฒนา: นางสาววรัญญา พงษ์สุวรรณศิริ, นางสาวยัสมีน อีบุ๊    
อาจารย์ที่ปรึกษา: นายภควรรษ ทองนวลจันทร์

2.รางวัลที่ 2 สาขาวิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม
โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
ชื่อโครงงาน: การศึกษาลักษณะทางกายภาพของนอนวูฟเวนจากเส้นใยเซลลูโลสของหญ้าขจรจบที่มีต่อความสามารถในการดูดซึมน้ำมัน เพื่อประยุกต์เป็นแผ่นดูดซับคราบน้ำมันในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม
ผู้พัฒนา: นายนฤสรณ์ นุ่นชูผล, นางสาวพวงชมพู เรืองคริ้ง, นางสาวพิมพ์ระพี แร่ทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา: นางสาวหนึ่งฤทัย เกียรติพิมล, นางสาวภาวิณา หะเทศ

3.รางวัลชมเชยสาขาคณิตศาสตร์และสถิติ
โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย
ชื่อโครงงาน: การศึกษารูปแบบของลูกเต๋าประหลาด n หน้า สำหรับบางค่า n
ผู้พัฒนา: นางสาวสรัลรัตน์ ปจันทบุตร, นายเตวิช เตชะวิศวกิจ
อาจารย์ที่ปรึกษา: นายณัฐวุฒิ ดุมลักษณ์, นายรัชนิกร ชลไชยะ"

4.รางวัลชมเชยสาขาฟิสิกส์ พลังงาน และดาราศาสตร์
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
ชื่อโครงงาน: พลศาสตร์การเคลื่อนที่ของใบพัดแมลงปอ
ผู้พัฒนา: นายก้องกิดากร ทองมี    
อาจารย์ที่ปรึกษา: นางซัลวาณีย์ เจ๊ะมะหมัด

5.รางวัลชมเชยสาขาวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ
ชื่อโครงงาน: การปรับโครงสร้างจุลภาคของคาร์บอนรูพรุนจากชีวมวลให้เป็นกราฟีนแบบหลายชั้นสำหรับตัวเก็บประจุไฟฟ้ายิ่งยวด
ผู้พัฒนา: นางสาวธารธรรม ระฆังทอง, นางสาวปานแก้วตา มิ่งขวัญ, นางสาวปณิตา สุวรรณโน 
อาจารย์ที่ปรึกษา: นางผกากรอง โยธารักษ์, ผศ.ดร.อุเทน ทับทรวง

          นอกจากรางวัลที่เยาวชนจากภาคใต้ได้รับรางวัลดังกล่าวแล้ว ภายในกิจกรรมการประกวดได้มอบรางวัลพิเศษให้แก่ผู้พัฒนาโครงงาน โดย ผศ.ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี หัวหน้าศูนย์ประสานงาน ร่วมมอบรางวัลภายใต้หัวข้อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาท้องถิ่น โครงงานที่ได้รับรางวัล คือ

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง    สาขาวิศวกรรมศาสตร์    
ชื่อโครงงาน: การพัฒนาเครื่องอบแห้งพริกไทย เพื่อเพิ่มคุณภาพของสีและความหอม    
ผู้พัฒนา: นางสาววรรณธนา วงค์ศรีชา, นายพัทธนันท์ สุขช่วย    
อาจารย์ที่ปรึกษา: นางพัชรา พงศ์มานะวุฒิ, นางสาวอาภาศรี ชุ่มชื่น

          การจัดการประกวดโครงการ YSC 2024 รอบชิงชนะเลิศ ระหว่างวันที่ 2 - 3 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน โดยเปิดกว้างรองรับการประกวดสาขาต่างๆ ถึง 9 สาขา มีโครงงานที่ผ่านสู่รอบชิงชนะเลิศร่วมนำเสนอผลงาน และแข่งขันจำนวน 63 โครงงานจากทั่วประเทศ ซึ่งมีโครงงานตัวแทนภาคใต้ที่เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ จำนวน 8 โครงงาน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับเกียรติในฐานะตัวแทนศูนย์ประสานงานภาคใต้ ส่งตัวแทนคณาจารย์เป็นกรรมการตัดสินการประกวดโครงงานร่วมกับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศในครั้งนี้ คือ 
     1.สาขาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ: รศ.ดร.พจมาลย์ สุรนิลพงศ์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร
     2.สาขาวิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม: ผศ.ดร.รุ่งเรือง จันทา สำนักวิชาพหุภาษาและการศึกษาทั่วไป
     3.สาขาคณิตศาสตร์และสถิติ: ผศ.ดร.นพพร ธรรมรงค์รัตน์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์

          สำหรับโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 26 (The Twenty-Sixth Young Scientist Competition: YSC 2024) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยได้พัฒนาทักษะความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นนวัตกรรม และเพื่อคัดเลือกนักเรียนตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์นานาชาติ อันเป็นการยกระดับการศึกษา และผลงานเยาวชนของประเทศไทย ซึ่งการจัดกิจกรรมภายใต้การดำเนินของโครงการ YSC สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายข้อที่ 4 (Quality Education) การศึกษาที่เท่าเที่ยม และเป้าหมายข้อที่ 17 (Partnerships for the Goals) สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์บริการวิชาการ ในฐานะศูนย์ประสานงานส่วนภูมิภาค ภาคใต้ ขอแสดงความยินดีกับผู้พัฒนาโครงงาน และอาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ อีกครั้ง

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://cas.wu.ac.th/archives/25609