Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) เข้าร่วมแสดงผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง

อัพเดท : 25/03/2567

146

 

เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) เข้าร่วมแสดงผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง

เมื่อวันที่ 22 มี.ค.67 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดการประชุมโครงการการแสดงผลการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี เป็นประธาน มี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.กระทรวง อว. น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.กระทรวง อว. นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผอ.กองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวง อว.และผู้บริหารเข้าร่วม ณ โรงแรมสวิสโซเทล รัชดา

โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะผู้แทน ประธานเครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน (อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) เข้าร่วมการประชุมและรับมอบประกาศเกียรติบัตรในนามเครือข่ายด้วย

ในปีงบประมาณ 2566 เครือข่ายอุดมศึกษาภาคใต้ตอนบน โดยมีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นแม่ข่าย รวม 8 สถาบัน ได้ดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง จำนวน 22 โครงการ ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา และภูเก็ต โดยมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 272 โรงเรียน ผลการดำเนินงานสามารถพัฒนาครู จำนวน 1,771 คน และนำไปสู่การพัฒนานักเรียนจำนวน 24,072 คน ประกอบด้วยผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ดังนี้

การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของเด็กไทย ทำให้ครูได้พัฒนาเทคนิคการสอน และสร้างสื่อการสอนที่พัฒนาทักษะการอ่านและเขียนของนักเรียนได้ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน เช่น เทคนิคการอ่านนิทานภาพออกเสียงแบบไม่สอน ไม่แทรก ไม่อธิบาย ปล่อยให้สมองเด็กทำงานไปกับหนังสือตรงหน้า (Read Aloud)  กิจกรรมเรื่องเล่าของหนู กิจกรรมเล่าเรื่องภาษาจีน การพัฒนาการออกเสียงภาษาอังกฤษ

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยบูรณาการกับความรู้และวิถีชีวิตของชุมชน เกิดเป็นชุดรายวิชาโครงงานฐานชุมชน และโครงงานบูรณาการ เช่น การทำผ้าบาติก การจักสานผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นร่วมกับผู้สูงอายุในชุมชน การเรียนรู้ในการประกอบอาชีพและความรู้ด้านการเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ซึ่งมีการบูรณาการการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และวิชาอื่น ๆ

การพัฒนาการผลิตและใช้สื่อเทคโนโลยีและสารสนเทศ (IT) เพื่อการเรียนการสอนให้กับครู ครูสามารถผลิตสื่อที่ประกอบด้วยรูปภาพ เสียง วิดีโอ ให้มีความสวยงาม น่าสนใจ ด้วยโปรแกรม Canva มีการสร้่างสื่อด้วยโปรแกรม PowerPoint แบบ Interactive ทำให้สื่อสอนมีชีวิตชีวา