Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ศูนย์บริการวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกับธนาคารออมสินภาค 17 ประเมินพื้นที่ในการดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นและดำเนินกิจกรรมของศูนย์บริการวิชาการ ปี 2568

อัพเดท : 01/02/2568

314

          มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร.ลักษณ์นารา ขวัญชุม รองผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ คุณกัญจนพร แก้ววิจิตร (ตัวแทนผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค17) และคณะทำงาน ลงพื้นที่สำรวจความต้องการของผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน OTOP ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2567 วันที่ 3 มกราคม 2568 และวันที่ 9 มกราคม 2568 รวมจำนวน 10 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านบางเข็ม ตำบลบางศาลา อำเภอปากพนัง 2) ศูนย์การเรียนรู้เครื่องปั้นดินเผาบ้านมะยิง ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา 3) กลุ่มสิชลมัดย้อม ตำบลฉลอง อำเภอท่าศาลา 4) สมาคมประมงบ้านในถุ้ง ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา 5) ชุมชนบ้านเกาะไชย ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก อำเภอปากพนัง 6) กลุ่มเครื่องเงินบ้านเขาวัง ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ 7) กลุ่มกระวานบ้านเขาวัง ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ 8) กลุ่มกรงนกบ้านในด่าน ตำบลโมคลาน อำเภอท่าศาลา 9) กลุ่มวิสาหกิจปลาใส่อวนแม่แกวดสูตรโบราณ ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา และ 10) วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงหมูครบวงจร ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์ ตำบลหัวตะพาน อำเภอท่าศาลา เพื่อประเมินพื้นที่ในการดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นและดำเนินกิจกรรมของศูนย์บริการวิชาการ  ปี 2568

           โดยโครงการมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มองค์กรชุมชนประเภทกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP หรือกลุ่มอาชีพในชุมชนกลุ่มผู้ประกอบการโฮมสเตย์และท่องเที่ยวชุมชน พัฒนาด้านการบริหารจัดการกลุ่มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาดการค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เรียนรู้การทำงานร่วมกันซึ่งก่อให้เกิดความสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกลุ่มองค์กรชุมชน สถาบันอุดมศึกษา และธนาคารออมสินในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มการทำงานต่อยอด องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ก่อให้เกิดประสบการณ์ด้านการพัฒนาศักยภาพตัวเองเมื่อออกสู่ตลาดแรงงาน สร้างความมั่นคงของรากฐานสังคมจากพื้นฐานความเข้าใจของคนรุ่นใหม่

           ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายตาม SDG ข้อที่ 2 Zero Hunger    (ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน) ข้อที่ 4 Quality Education (สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต) ข้อที่ 14 Life below water (อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) และข้อที่ 17 Partnerships for the Goals (สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย)

 

  

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://cas.wu.ac.th/archives/31879