Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

แนะนำ ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศนวัตกรรมฟิสิกส์ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมเกษตร

อัพเดท : 21/01/2557

4118

ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศนวัตกรรมฟิสิกส์ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมเกษตร (Green Innovation in Physics for Agro-Industry Research Center of Excellence)

บุคลากร: ผศ.ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ, นายไพรวัลย์ เกิดทองมี, ผศ.ดร.นฤมล มาแทน, ดร.ทนง เอี่ยวศิริ, ดร.วิสาขะ อนันธวัช, ดร.ภมรรัตน์ เกื้อเส้ง, อ.ธรรมรง เอียดคง, ผศ.ดร.สรศักดิ์ ด่านวรพงศ์ และ ดร. พันธุ์ศักดิ์ เกิดทองมี

ก่อตั้ง: ปี 2545 ในนาม หน่วยวิจัยฟิสิกส์ทดลอง จากนั้นยกระดับเป็นหน่วยวิจัยความเป็นเลิศพลาสมาประยุกต์เพื่อการกสิกรรมในปี 2552 และได้เปลี่ยนสถานะเป็น ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศนวัตกรรมฟิสิกส์ยั่งยืนสำหรับอุตสาหกรรมเกษตร ในเดือนมกราคม 2557

สถานที่ตั้ง: อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม

ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก: ได้รับการสนับสนุนทุนดำเนินการจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ของประเทศไทย (THailand center of Excellence in Physics หรือ ศูนย์เทพ) ทุนวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) วิจัยและพัฒนาเครื่องมือร่วมกับสถาบันการศึกษา และเอกชน เช่น บริษัทแพลนทอยส์ สงขลาแคนนิ่ง เอ็นเคฟรีซ ไทรอัมพ์เอ็นจิเนียริง และประดู่เอ็นจิเนียริง

ขอบเขตการวิจัย: ศูนย์วิจัยความเป็นเลิศมุ่งขยายขอบเขตงานวิจัยจาก ฐานความรู้และความสำเร็จที่ผ่านมา ในการใช้คลื่นไมโครเวฟอบแห้งผลผลิตทางการเกษตร สู่การใช้พลาสมายับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคเรีย การทดสอบแบบไม่ทำลายด้วยอัลตราซาวด์กับผลิตภัณฑ์เกษตร ฯลฯ ที่จะสร้างมิติใหม่ของงานวิจัยฟิสิกส์ในประเทศไทย ให้เป็น”ฟิสิกส์สีเขียว”ประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยสร้างนวัตกรรมที่อิงบริบท (Contextual Innovation) ของประเทศไทย ที่มีฐานรากเป็นสังคมเกษตรกรรม

บทบาทการบริการวิชาการ: พัฒนาเทคโนโลยีไมโครเวฟ สำหรับวิสาหกิจชุมชน และอุตสาหกรรม SME ในการอบแห้ง รังนก ปลา พริก หนังปลาแซลมอน ผงผักนัว ข้าวพอง ลูกเดือย อาหารสัตว์ เป็นต้น ในส่วนเครื่องกำจัดมอดและไข่มอดในไม้ยางพาราได้ใช้สนับสนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ยางไปต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเครื่องกำเนิดพลาสมาด้วยคลื่นวิทยุกำลังสูงที่ความดันบรรยากาศ ให้กับห้องปฏิบัติการวิจัยทางด้านพลาสมาทั้งในและต่างประเทศ และการพัฒนาสื่อการสอนทางฟิสิกส์ทั้งระดับมัธยมและระดับมหาวิทยาลัย