Location

0 7567 3000

ความเป็นมา

ความเป็นมา

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) พระราชทานชื่อว่า “มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” อันเป็นสร้อยพระนามในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยจัดตั้งตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535 เป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) ที่จัดการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยในรูปแบบ Residential University ที่มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแบบครบวงจร และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมทั้งมีการจัดภูมิทัศน์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดี ร่มรื่น เขียวสะอาด ปราศจากมลพิษ

ประวัติความเป็นมา

  • พ.ศ. 2510

    ชาวนครศรีธรรมราชเริ่มรณรงค์เรียกร้องให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัย

  • พ.ศ. 2522

    ส.ส.นครศรีธรรมราชเริ่มเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • พ.ศ. 2527

    ประชาชนรวมตัวกันจัดตั้งคณะกรรมการรณรงค์ให้มีมหาวิทยาลัยที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • พ.ศ. 2531

    13 กันยายน พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งวิทยาลัยนครศรีธรรมราช สังกัดมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศต่อไป

  • พ.ศ. 2533

    4 เมษายน พ.ศ. 2533 คณะรัฐมนตรียกเลิกมติเดิมและอนุมัติให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • พ.ศ. 2534

    20 สิงหาคม พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • พ.ศ. 2535

    พุทธศักราช 2535 และมหาวิทยาลัยถือเอาวันนี้เป็นวันสถาปนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานชื่อว่า "มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ "
    29 มีนาคม พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    7 เมษายน พ.ศ. 2535 ประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พุทธศักราช 2535 ในราชกิจจานุเบกษา
    8 เมษายน พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พุทธศักราช 2535 มีผลบังคับใช้

  • พ.ศ. 2536

    8 เมษายน พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารีทรงพระราชทานอนุญาตให้อัญเชิญตราพระนามของพระองค์ท่านเป็นตราประจำมหาวิทยาลัย
    24 มิถุนายน พ.ศ.2536 จัดตั้งสำนักงานอธิการบดีและหน่วยประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กรุงเทพมหานคร

  • พ.ศ. 2539

    10 มกราคม พ.ศ.2539 รัฐบาลโดยมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการอุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี
    21 มกราคม พ.ศ.2539 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระราชทานชื่อ "อุทยานการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ"
    29 มีนาคม พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารีเสด็จพระดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • พ.ศ. 2540

    1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เข้าดำเนินงาน ณ ที่ตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • พ.ศ. 2541

    23 พฤษภาคม พ.ศ.2541 เปิดดำเนินการรับนักศึกษารุ่นแรกขึ้นทะเบียน
    28 พฤษภาคม พ.ศ.2541 เปิดสอนวันแรก

  • พ.ศ. 2545

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์
อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินแทนพระองค์
พระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สําเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีรุ่นแรกของมหาวิทยาลัย

  • พ.ศ. 2548

นักศึกษาระดับปริญญาเอกรุ่นแรกสําเร็จการศึกษาถือเป็นปีที่มหาวิทยาลัยสามารถดําเนินภารกิจด้านการสร้างบัณฑิตสมบูรณ์ ในทุกระดับการศึกษา

  • พ.ศ. 2551

รับนักศึกษาสํานักวิชาแพทยศาสตร์รุ่นแรก

  • พ.ศ. 2553

เปิดศูนย์การเรียนรู้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  • พ.ศ. 2555

ครบรอบ 20 ปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย

  • พ.ศ. 2557

นักศึกษาสํานักวิชาแพทยศาสตร์สําเร็จการศึกษารุ่นแรก

  • พ.ศ. 2558

เริ่มดําเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  • พ.ศ. 2560

ตั้งวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์อัครราชกุมารี วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์นานาชาติ และวิทยาลัยนานาชาติ

  • พ.ศ. 2561

จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

  • พ.ศ. 2562

การก่อสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์ ระยะที่ 1 เสร็จสมบูรณ์

  • พ.ศ. 2563

รับนักศึกษาปริญญาตรีได้ถึงร้อยละ 99.96 ของแผนการรับนักศึกษา โดยสามารถรับนักศึกษาใหม่ได้ ถึง 2,478 คน จากเป้าหมาย 2,479 คน สูงสุดนับแต่เปิด รับนักศึกษามา

  • พ.ศ. 2564

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการจัดอันดับโลกจาก THE Impact Ranking เป็นครั้งแรก โดยอยู่ในอันดับที่ 601-800 ของโลก อันดับที่ 15 ของประเทศไทย

  • พ.ศ. 2565

- พัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต จํานวน 10 วิชาเอก โดยเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2566 เป็นปีแรก
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับการจัดอันดับโลกจาก QS ASIA University Ranking เป็นครั้งแรก โดยอยู่ในอันดับที่ 551- ของโลก อันดับที่ 19 ของประเทศไทย

  • พ.ศ. 2566

- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับ 501+ ของโลก และเป็น อันดับ 3 ร่วมของไทย จากการจัดอันดับกลุ่มมหาวิทยาลัยใหม่ (Young University Rankings 2023) โดย Times Higher Education (THE) เป็นครั้งแรก

- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับ UI GreenMetric World University Ranking 2023 เป็นอันดับที่ 1  ของภาคใต้ 4 ปีติดต่อกัน อันดับที่ 6 ของประเทศ และอันดับที่ 83 ของโลก

  • พ.ศ. 2567

- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับ THE Impact Rankings 2024 อยู่ในอันดับที่ 101-200 ของโลก เป็นอันดับที่ 5 ร่วมของประเทศไทย  * SDG 6 - Clean Water and Sanitation (การจัดการน้ำและสุขาภิบาล) อยู่ในอันดับที่ 55 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของไทย
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับ World University Rankings 2024 อยู่ในอันดับที่ 1201-1500 ของโลกและอันดับ 6 ร่วมของประเทศไทย
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับ Young University Rankings 2024 อยู่ในอันดับที่ 501-600 ของโลกและอันดับ 3 ร่วมของประเทศไทย
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับ THE Asia University Rankings 2024 อยู่ในอันดับที่ 501-600 ของเอเชีย อันดับที่ 12 ของประเทศไทย
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการจัดอันดับ Webometrics Ranking of World Universities 2024 อยู่ในอันดับที่ 14 ของไทย อันดับที่ 1,622 ของโลก
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับรางวัลสถาบันอุดมศึกษาดีเด่น กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก ประจำปี พ.ศ. 2566 ด้านการวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากลและสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับรางวัลเกียรติยศระดับโลก Global Good Governance Awards (3G Awards) 2024 ด้านความโดดเด่นในการรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในระดับอุดมศึกษา 
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับรางวัล 3G Excellence Award for Green Campus 2024 ในฐานะมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่นด้านการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว 
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับรางวัล “สถานศึกษาดำเนินการ CWIE นานาชาติดีเด่น ระดับชาติ” ในงานวันสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน (CWIE DAY) ครั้งที่ 14 ประจำปี 2567