Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

สุดยอด!! ผลงานนักศึกษานิเทศศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ คว้า 1 รางวัลดีเด่น 1 รางวัลชมเชย เวทีประกวดสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ สายฟ้าน้อยครั้งที่ 16

อัพเดท : 28/12/2563

2205

ผลงานสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ ของนักศึกษานิเทศศาสตร์ม.วลัยลักษณ์ เรื่อง ถนนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (ซอยตาเอียด) คว้ารางวัลดีเด่น สารคดีเชิงข่าว ประเภทข่าวทั่วไป และ ผลงาน เรื่องขุมทรัพย์แห่งท้องทะเล ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทวิถีชุมชน  การประกวดรางวัลสายฟ้าน้อย ครั้งที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2563 ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 20,000 และ 10,000 บาทตามลำดับ

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยร่วมกับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น   โดยมี สำนักงาน กสทช. และกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เจ้าภาพร่วมในการจัดงานประกาศผลการตัดสินรางวัลสายฟ้าน้อย ครั้งที่ 16 ประจำปี พ.ศ. 2563 เพื่อร่วมส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ในการพัฒนาสื่อและนิเวศสื่ออย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์  เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถด้านการผลิตข่าวและสารคดีเชิงข่าวประเภทวิทยุกระจายและสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ และเปิดโอกาสให้ได้นำเสนอความคิดสร้างสรรค์   อันจะเป็นช่องทางในการพัฒนาทักษะเตรียมความพร้อมเข้าสู่วิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน ในปีนี้มีผลงานส่งเข้าประกวดทั้งหมด 48  เรื่อง ประเภทสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์  จำนวน 37 เรื่อง จาก 10  สถาบันการศึกษา และประเภทสารคดีเชิงข่าววิทยุกระจายเสียง จำนวน 11  เรื่อง จาก 3 สถาบันการศึกษา

ผลปรากฎว่า ผลงานสารคดีเชิงข่าวโทรทัศน์ของนักศึกษานิเทศศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ชั้นปีที่ 3 เรื่อง ถนนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (ซอยตาเอียด) ผลกระทบและการปรับตัวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ของธุรกิจต่างๆภายในซอย  สามารถคว้ารางวัลสารคดีเชิงข่าว ประเภทข่าวทั่วไป ดีเด่น ได้รับเงินรางวัลจำนวน 20,000 บาท โล่รางวัลพร้อมและเกียรติบัตร สมาชิกภายในทีม ประกอบด้วย นายกอบบุญ บูรโชควิวัฒน์ , นางสาวศุภกานต์ อุ่นเมือง และนายรณกฤต อึ่งบำเหน็จ โดยมี อาจารย์ วรรณรัตน์ นาที อาจารย์ประจำหลักสูตรนิเทศศาสตร์เป็นที่อาจารย์ปรึกษา

 

ในการประกวดดังกล่าว ยังมีทีมมันปู นักศึกษานิเทศศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์  เจ้าของผลงานเรื่อง : ขุมทรัพย์แห่งท้องทะเล เรื่องราวเกี่ยวกับการก่อตั้งธนาคารปูม้า ในพื้นที่ชุมชนอ่าวท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ก่อนหน้านี้ประสบปัญหาการขาดแคลนทรัพยกรทางทะเล ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่รวมตัวกันก่อตั้งธนาคารปู เพื่อให้ชาวบ้านนำแม่ปูไข่นอกกระดอง มาขยายพันธุ์จำนวนปูม้าให้กลับคืนสู่ท้องทะเลสมาชิกภายในทีม คือ นางสาวกมลรัตน์ เสนาสวัสดิ์ นายเจษฎากร วาหะรักษ์ นางสาวธิดารัตน์ กลั่นสุรินทร์ นางสาวเปมิกา ชุมขำ มี อาจารย์ วรรณรัตน์ นาที เป็นที่ปรึกษา ได้รับรางวัลชมเชย พร้อมเกียรติบัตรและโล่รางวัล และจำนวนเงินรางวัล 10,000 บาท

 

นอกจากนี้ยังมีอีก 2 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ได้แก่ 1) ทีม 25สตางค์ เจ้าของเรื่อง : โอสถแห่งพงไพรสมาชิกภายในทีมประกอบด้วย นายกานต์ สิทธิฤทธิ์ นางสาวจิรายุ มากุล นางสาวศุภกานต์ อุ่นเมือง นางสาวณัฐธยาน์ พละบุญ และ2) ทีม : Save world save life เรื่อง : เอื้องสายไหมเชื่อมสุขสู่ป่าใหญ่ สมาชิก นายกอบบุญ บูรโชควิวัฒน์  นายตราภูมิ เสือคำ นางสาวพิชญ์นรี มนจริง นางสาวรัชนีกร ไตรรัตน์นางสาววริศรา เลขาทิพย์ ได้รับเกียรติบัตร

ภายในงานประกาศรางวัล นายพีระวัฒน์ โชติธรรมโม นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ร่วมกับ นางพิมลพรรณ ศิริวงศ์วานงาม ผู้อำนวยการ ด้านสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์การตลาด บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และตัวแทนคณะกรรมการตัดสินรางวัลสารคดีเชิงข่าววิทยุและโทรทัศน์ รางวัลสายฟ้าน้อยครั้งที่ 16/2563  นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน/ นางสาวสนมพร ฉิมเฉลิม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน และ นายพุทธิฉัตร จินดาวงศ์ บรรณาธิการข่าวและหัวหน้าผู้สื่อข่าวโทรทัศน์ PPTV และอาจารย์ธนภร เจริญธัญสกุล หัวหน้าสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ม.วลัยลักษณ์ ร่วมพิธีประกาศผลการตัดสินรางวัลให้กับผลงานที่ได้รับรางวัลดีเด่น รางวัลชมเชย และ ผลงานผ่านเข้ารอบสุดท้าย

 

ข่าวโดยนายธีรพงศ์  หนูปลอด ส่วนสื่อสารองค์กร

ขอขอบคุณภาพจากสาขาวิชานิเทศศาสตร์