
ในแต่ละปีจะมีเศษชีวมวลต้นปาล์มน้ำมันเหลือทิ้งในส่วนทั่วโลกเป็นปริมาณมากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งส่งผลเสียทั้งด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องนำเอาเศษชีวมวลเหลือทิ้งเล่านี้มาใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีงานวิจัยกลางน้ำเพื่อที่จะเปลี่ยนเศษชีวมวลเหล่านี้เป็นไม้ปาล์มน้ำมันแปรรูปอบแห้ง นอกจากนี้เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ จำเป็นต้องมีการวิจัยปลายน้ำเพื่อที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆสำหรับการใช้ประโยชน์
รองศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร มาแทน หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และทีมนักวิจัย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการแปรรูปต้นปาล์มน้ำมันเหลือทิ้งในสวนเป็นผลิตภัณฑ์ไม้น้ำหนักเบามูลค่าสูง ซึ่งการพัฒนาดังกล่าว สามารถทำให้เกษตรกรในพื้นที่มีรายได้จากการขายไม้ปาล์มน้ำมัน ทดแทนรายจ่ายที่ต้องใช้ในการกำจัดต้นปาล์มน้ำมัน เป็นการเปลี่ยนรายจ่ายเป็นรายได้ ทำให้เกษตรชาวสวนรายย่อยมีความเป็นอยู่ดีขึ้น รวมถึงสามารถทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่แปรของเสียต้นปาล์มน้ำมันเป็นผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปน้ำหนักเบา ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดยุโรป โดยเป็นเทคโนโลยีที่คิดและพัฒนาโดยนักวิจัยไทย และผลิตโดยโรงงานไม้ยางพาราแปรรูปในประเทศไทย สามารนำเงินตราเข้าสู่ประเทศเหมือนกับกรณีของไม้ยางพารา และยังสามารถลดของเสียในสวนปาล์มน้ำมันลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการย่อยสลายออกสู่บรรยากาศได้อีกด้วย
ซึ่งการพัฒนาการแปรรูปต้นปาล์มน้ำมันเหลือทิ้งในสวน มีผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จได้มากมาย อาทิ เช่น
1. ประสบความสำเร็จในการออกแบบและสร้างเครื่องแช่เยือกแข็งไม้ปาล์มน้ำมันต้นแบบในระดับอุตสาหกรรมโดยการจุ่มในสารละลายเกลือเย็นจัด เทคนิคดังกล่าวสามารถลดระยะเวลาการแช่เยือกแข็งลงได้ 10 เท่าเมื่อเทียบกับการแช่ในอากาศและมีต้นทุนค่าไฟฟ้าในการแช่แข็งประมาณ 284 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ไม้ที่ผ่านการแช่เยือกแข็งสามารถอบได้โดยใช้กระบวนการอบและเตาอบไม้ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยไม่มีความเสียหายใดๆ มีสมบัติเหมาะสมสำหรับใช้เป็นฉนวนความร้อนและเสียง รวมถึงเฟอร์นิเจอร์น้ำหนักเบา - in-situ เซลล์สำหรับติดตั้งตัวอย่างที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแบบพลศาสตร์ในระหว่างการอบแห้งด้วยแสงซินโครตรอน
2. ประสบความสำเร็จในการออกแบบและสร้าง in-situ เซลล์สำหรับติดตั้งตัวอย่างที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแบบพลศาสตร์ในระหว่างการอบแห้งด้วยแสงซินโครตรอน (ดำเนินการยื่นจดสิทธิบัตร) โดยพบว่าการเสียรูปของไม้ปาล์มจากการอบเกิดจากการเปลี่ยนโครงสร้างระดับไมโครเมตรจากการยุบตัวของเซลล์พาเรนไคมา และพบว่าการยุบตัวไม่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างนาโนในไฟบริลของไม้ - ไม้ปาล์มน้ำมันฝังอัดพอลิเมอร์ (PMMA) มีสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานภายนอกอาคาร
3. ประสบความสำเร็จในการหาเทคนิคเพื่อเติมน้ำมันหอมระเหยลงในไม้ปาล์มน้ำมันสำหรับผลิตเป็นซองบรรจุภัณฑ์สำหรับยืดอายุการเก็บรักษาผักให้มีคุณภาพในระดับที่บริโภคได้นานกว่า 10 วัน ปราศจากเชื้อแบคทีเรียก่อโรค มีสารต้านทานอนุมูลอิสระและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพสูงขึ้น บรรจุภัณฑ์สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ได้ 2 ครั้ง โดยที่ประสิทธิภาพยังคงเดิม
4. ประสบความสำเร็จในการฝังอัดพอลิเมอร์ (PMMA) เข้าในเนื้อไม้ปาล์มน้ำมันด้วยกระบวนการอัดให้มอนอเมอร์ไหลตามทิศทางการไหลในท่อลำเลียง ไม้ปาล์มน้ำมันที่ผลิตได้มีสมบัติที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานภายนอกอาคาร โดยมีความต้านทานต่อความชื้นที่สูงกว่าไม้ปาล์มน้ำมันทั่วไป 15 เท่าและมีความต้านทานต่อการเกิดราได้ดีกว่า 5 เท่าภายใต้สภาวะการใช้งานเดียวกัน และยังมีสมบัติเชิงกลเหมาะสมสำหรับการผลิตเฟอร์นิเจอร์ด้วย
5. ประสบความสำเร็จในการผลิตแผ่นแซนวิชที่มีไม้ปาล์มน้ำมันเป็นไส้ปิดผิวด้วยไม้อัดและไม้อัดเกล็ดเรียงชิ้นเพื่อนำไปใช้เป็นแผ่นผนังฉนวนของอาคาร โดยปริมาณกาวที่เหมาะสมสำหรับการผลิต 250 กรัมต่อตารางเมตร โดยการจัดเรียงไส้ไม้ปาล์มน้ำมันแบบไขว้มีเสถียรภาพที่ดีกว่า แผ่นแซนวิชที่ผลิตได้มีค่าการนำความร้อนที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุก่อสร้างทั่วไป เทคนิคที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถดำเนินการผลิตโดยใช้เครื่องมือในอุตสาหกรรมไม้อัดในประเทศไทยได้
โดยผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อได้ที่ รองศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร มาแทน หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โทรศัพท์ 075-672344 อีเมล mnirundo@wu.ac.th