
คณาจารย์และทีมเจ้าหน้าที่จากศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่โรงเรียนชุมชนใหม่ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ขับเคลื่อน โครงการวิชาการรับใช้สังคมในมิติการศึกษา Ep.2 เปิดโลกการเรียนรู้เชิงบูรณาการด้วยหลักการ STEM “ขยะเปียกเปลี่ยนเป็นปุ๋ย” เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 ซึ่งเป็นกิจกรรมย่อยภายใต้ชุดโครงการบูรณาการสหสาขาเพื่อการศึกษาสู่ชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน โดยการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักวิชา
นำทีมโดยอาจารย์อนุชสรา เรืองมาก สำนักวิชาศิลปศาสตร์ หัวหน้ากิจกรรมย่อย 2 การพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนในหลักสูตรปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ลงพื้นที่หารือการปรับปรุงหลักสูตรบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนใหม่ ร่วมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยชนก คมเม่น สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ หัวหน้ากิจกรรมย่อย 3 STEM การจัดการขยะเปียก ในการถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงบูรณาการโดยใช้หลักสะเต็มศึกษา (Science, Technology, Engineering และ Mathematics ) ให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ ปีที่ 6 การทำปุ๋ยหมักจากขยะเปียกเป็นเรื่องง่าย สนุก และได้ช่วยโลก นักเรียนสามารถเริ่มจากที่บ้านกับครอบครัว การแยกขยะอย่างถูกต้อง ก็สร้างปุ๋ยดี ๆ ได้ด้วยตัวเอง ช่วงที่ 1 อธิบายความรู้เบื้องต้น กิจกรรมย่อย: จับกลุ่มแยก “ขยะที่หมักได้” กับ “ขยะที่หมักไม่ได้” จากภาพการ์ด แบ่งกลุ่มละ 4-5 คน ช่วงที่ 2 ลงมือทำปุ๋ยหมัก ช่วงที่ 3 สะท้อนผลการเรียนรู้ กิจกรรม: นักเรียนแบ่งปันสิ่งที่ได้เรียนรู้ มีการถามตอบ ทำแบบฝึกหัดหลังเรียนและส่งใบงาน
กิจกรรมในครั้งนี้ ได้มีการนำองค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยมาปรับใช้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาท้องถิ่น ทั้งในด้านเนื้อหา นวัตกรรม และทักษะการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับชีวิตจริง พร้อมทั้งขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) โดยเฉพาะเป้าหมาย 4: Quality Education (ประกันคุณภาพการศึกษาที่ครอบคลุมและเท่าเทียม ส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับทุกคน) และเป้าหมายที่ 17: Partnerships for the Goals (เสริมสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) อีกทั้งยังสอดคล้องกับแนวทาง “WU HAPPY TREE” ในด้านการศึกษา ตลอดจนสอดรับกับเกณฑ์การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน UI GreenMetric World University Rankings (หมวด ED5) อีกด้วย