Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

ม.วลัยลักษณ์ เปิดเวทีวิชาการนานาชาติ อาหารอาเซียน 7 ประเทศเข้าร่วม

อัพเดท : 18/09/2560

2917



เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดประชุมวิชาการนานาชาติสานสัมพันธ์วัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 2 “อาหารอาเซียน : จิตวิญญาณที่มากกว่าความเป็นอาหาร" มุ่งแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างเครือข่ายพัฒนาต่อยอดงานวิจัย เผยแพร่สู่สาธารณะ มี 7 ชาติอาเซียนเข้าร่วมงาน ณ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช



รองศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ไหมศรีกรด รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการการและกิจการต่างประเทศ ม.วลัยลักษณ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม พร้อมกล่าวว่า เวทีการประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีในการนำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในระดับอาเซียน การพัฒนาต่อยอดงานวิจัย ตลอดจนพัฒนางานวิจัยไปสู่สาธารณะ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในระดับอาเซียน เพื่อให้มีการพัฒนาทางด้านวิชาการ อย่างยั่งยืนต่อไป



รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ รักษาการแทนผู้อำนวยการอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์ ม.วลัยลักษณ์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานครั้งนี้ว่า เพื่อเป็นเวทีสาธารณะด้านศิลปะและวัฒนธรรมในการวิจัยและวิชาการให้กับคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้ นำไปสู่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในระดับอาเซียน การพัฒนาต่อยอดงานวิจัย ตลอดจนพัฒนางานวิจัยไปสู่สาธารณะ ตลอดจนเพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในระดับอาเซียน นำมาซึ่งการพัฒนาทางด้านวิชาการอย่างยั่งยืน

ภายในงานมีกิจกรรมประกอบด้วย การปาฐกถาพิเศษ “อาหาร ความหลากหลายภูมิปัญญาในอาเซียน”, การจัดเสวนาประเด็น “อาหารอาเซียน”, การนำเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentations) “อาหารอาเซียน” , การจัดแสดงนิทรรศการ วัฒนธรรม “อาหารอาเซียน” และการสาธิตการทำอาหารประจำถิ่น ในกลุ่มประเทศอาเซียน7 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เมียนมาร์ อินโดนีเซีย และประเทศไทย มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดเวทีวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ และความสัมพันธ์อันดีในกลุ่มประเทศอาเซียนมากยิ่งขึ้น



“อาหารที่ถูกนำมาจัดแสดงในงาน อาทิ ประเทศกัมพูชา มีเมนู “ปลาอามอค” และ “ลาบคเมอ” อินโดนีเซีย มีเมนู “เร็นดัง ดีกิง” และ “โซโต อะยัม” หรือฟิลิปปินส์ มีเมนู “อโบโค” และ “บูโค ปานดาง” ซึ่งทุกเมนูมีความหมายที่ซับซ้อนทางวัฒนธรรม ความคิด และความเชื่อ ถูกสอดแทรกผ่านอาหาร นอกจากนี้วัฒนธรรมอาหารยังเป็นภาพสะท้อนที่เป็นรูปธรรมของอุปนิสัย ภูมิปัญญา วิถีชีวิต ความเชื่อเฉพาะตัวของแต่ละชนชาติทำให้มนุษย์ไม่มองหรือเข้าใจโดยใช้พื้นฐานของตนเป็นเกณฑ์ในการตัดสินคนต่างวัฒนธรรม”รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ กล่าว

ประมวภาพ

ข่าว/ภาพโดย นายธีรพงศ์ หนูปลอด ส่วนสื่อสารองค์กร