Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

บูรณาการงานบริการวิชาการด้วยวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยี ไชยาโมเดล: โมเดลเครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก แก่ 18 อำเภอ จังหวัดสุราษฏร์ธานี

อัพเดท : 17/10/2560

2407

         หน่วยวิจัยและบริการวิชาการโรคไข้เลือดออก สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย “การจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม” ภายใต้โครงการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2560 คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

           จากต้นแบบในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก “ไชยาโมเดล: โมเดลเครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน” ซึ่งประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ 1) ประเมินหมู่บ้านพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก (dengue risk assessment) และสิ่งแวดล้อมชุมชนเพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงในการเฝ้าระวัง 2) ติดตั้งระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลาย (larval indices surveillence system)  3) โปรแกรมดัชนีลูกน้ำยุงลาย http://lim.wu.ac.th 4) ประเมินและเตรียมความพร้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านเกี่ยวกับความรู้และความเข้าใจดัชนีลูกน้ำยุงลาย 5) การประเมินและกระตุ้นการสร้างสมรรถนะชุมชน (community capacity building) ของหมู่บ้านที่มีความเสี่ยงสูง  6) การพัฒนาทีมทำงานประจำให้เป็นงานวิจัยเชิงพื้นที่ และ 7) การทำงานเชิงเครือข่ายที่มีกลุ่มคนเข้ามาเกี่ยวข้องทั้ง 4 กลุ่มโดยผ่านเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอ

ประกอบกับสถานการณ์ปัญหาโรคไข้เลือดออกของจังหวัดสุราษฏร์ธานีซึ่งมีอีก 18 อำเภอที่มีปัญหาโรคไข้เลือดออกที่มีธรรมชาติการระบาดของโรคปีเว้นปี ทั้งนี้ นายแพทย์ขจรศักดิ์ แก้วจรัส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ในฐานะผู้ดูแลสุขภาพภาพรวมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ได้เล็งเห็นความสำคัญและทำข้อตกลงให้ความร่วมมือ สนับสนุนการถ่ายทอดฯ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีจากการดำเนินการของ “ไชยาโมเดล” โมเดลการสร้างเครือข่ายระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนแก่ แกนนำอำเภออื่นๆ อีก 18 อำเภอ ใน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2) สนับสนุนและส่งเสริมการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่นำร่อง 3 อำเภอซึ่งมีบริบทแตกต่างกันของอำเภอเมือง อำเภอเวียงสระ และอำเภอเกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
3) สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการขยายผลการดำเนินการระดับจังหวัดสุราษฎร์ธานีต่อการดำเนินการของเครือข่ายไปยังจังหวัดอื่นๆ ในพื้นที่ภาคใต้

       โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการมุ่งเน้นบุคลากรแกนนำหน่วยงานและผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล รพ./รพ.สต. แบ่งเป็น 4 กลุ่มเป้าหมาย ประมาณ 3,380 คน คือ
กลุ่มที่ 1 กลุ่มแกนนำวิทยากรพื้นที่ ของการดำเนินการจากอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่สนใจจำนวน 10 คนซึ่งเป็นโมเดลต้นแบบที่เป็นตัวแทนจาก 4 กลุ่มคน  จะได้รับการพัฒนาทักษะในการดำเนินการในการถ่ายทอดฯ และการประสานพื้นที่อำเภออื่นๆ
กลุ่มที่ 2 กลุ่มแกนนำระดับโซน เป็นตัวแทนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบเกี่ยวกับการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก จาก รพช.  สสอ. เทศบาล และ รพ.สต. ของทั้งจังหวัด กำหนดจากอำเภอต่างๆในแต่ละโซนๆ ละ 60 คนรวม 4 โซน จำนวน 240 คน ได้รับการชี้แจงแนวคิดทั้ง 5 กิจกรรมของระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลาย  ที่มีการใช้โปรแกรม http://lim.wu.ac.th  กิจกรรมการให้ความรู้และความเข้าใจดัชนีลูกน้ำยุงลาย การประเมินความหมู่บ้านเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้กลุ่มแกนนำดังกล่าวจะนำความรู้ที่ได้ไปดำเนินการในพื้นที่ของแต่ละอำเภอ 
 กลุ่มที่ 3 กลุ่มแกนนำระดับอำเภอ  เป็นแกนนำตัวแทนของหน่วยงานระดับตำบล และหมู่บ้าน ของแต่ละอำเภอ แก่ ตัวแทน รพ.สต. อสม. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมอำเภอละ 60 คน รวม 19 อำเภอ รวมประมาณ 1,140 คน
 กลุ่มที่ 4  กลุ่มแกนนำของอำเภอนำร่อง  เป็นอำเภอที่มีความพร้อมในการดำเนินการตามอำเภอต้นแบบของ “ไชยาโมเดล” จำนวน 3 อำเภอจะมีการดำเนินในการติดตั้งระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำฯ  การสนับสนุนการดำเนินการจากทีมวิจัยและอำเภอไชยาในการเป็นพี่เลี้ยง และจะมีการติดตามในเดือนที่ 3 และ 6 โดยการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้ของ อสม. และประเมินสิ่งแวดล้อมของครัวเรือน รวม 2,000 คน  จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 4 กลุ่ม แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 โซนพื้นที่ แกนนำโซน และแกนนำระดับอำเภอในการถ่ายทอดฯ


ลำดับ

โซนพื้นที่

อำเภอ                 

แกนนำโซน

แกนนำระดับอำเภอ

1

เหนือ

อำเภอท่าชนะ         

15

60

2

เหนือ

อำเภอท่าฉาง         

15

60

3

เหนือ

อำเภอพุนพิน         

15

60

4

เหนือ

อำเภอไชยา           

15

60

5

ตะวันออก

อำเภอเมือง           

12

60

6

ตะวันออก

อำเภอเกาะสมุย      

12

60

7

ตะวันออก

อำเภอเกาะพงัน      

12

60

8

ตะวันออก

อำเภอดอน

12

60

9

ตะวันออก

อำเภอกาญจนดิษฐ์   

12

60

10

ตะวันตก

อำเภอตาขุน           

12

60

11

ตะวันตก

อำเภอเคียนซา        

12

60

12

ตะวันตก

อำเภอวิภาวดี          

12

60

13

ตะวันตก

อำเภอพนม            

12

60

14

ตะวันตก

อำเภอคีรีรัฐ           

12

60

15

ใต้

อำเภอชัยบุรี           

12

60

16

ใต้

อำเภอพระแสง        

12

60

17

ใต้

อำเภอบ้านนาสาร    

12

60

18

ใต้

อำเภอบ้านนาเดิม    

12

60

19

ใต้

อำเภอเวียงสระ        

12

60

รวม

4 โซน

18 อำเภอ

240

1,140

            
              ทั้งนี้ทั้งนี้ระยะเวลาในการถ่ายทอดฯทั้งหมด 18 อำเภอภายในเวลา 10 เดือน โดยมีการประชุมเปิดโครงการถ่ายทอดฯ ทั้งจังหวัดสุราษฏร์ธานีในวันที่ 28 กันยายน 2560 มีวิทยากรพื้นที่จากอำเภอไชยาจำนวน 10 คน และตัวแทนจากอำเภอต่างๆ ทั้ง 18 อำเภอ โดยมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฏร์ธานีทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน  โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ สาธารณสุขอำเภอ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานไข้เลือดออก รวมจำนวน 50 คน  ดังภาพ
 

 

 


             ผลการดำเนินการทุกอำเภอมีความต้องการและยินดีรับการถ่ายทอดฯ  มีอำเภอนำร่องที่จะดำเนินการเต็มรูปแบบของการดำเนินการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออก  คือ อำเภอเวียงสระ  อำเภอกาญจนดิษฐ์ และอำเภอเมืองสุราษฏร์ธานี 
อย่างไรก็ตามการจัดบริการวิชาการร่วมกับการวิจัยถ่ายทอดฯ จะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้รับบริการหรือรับการถ่ายทอดฯ มีการพัฒนารูปแบบในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่นั้นๆ       
          

ประมวลภาพ