Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

รศ.ดร. ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล ร่วมเผยแพร่บทความวิจัยในปีการศึกษา 2554 จำนวน 13 เรื่อง

อัพเดท : 30/03/2555

3664



รศ.ดร. ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ร่วมกับคณาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ มหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศ เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการ ในปีการศึกษา 2554 ดังนี้

1. เรื่อง Formation of cobalt ferrites from aqueous solutions of metal nitrates containing PVA: effects of the amount of PVA and annealing temperature ลงพิมพ์ในวารสาร Journal of the Ceramics Society of Japan ลำดับที่ 119 หน้า 541-543 ซึ่งจัดพิมพ์โดย Ceramics Society of Japan ประเทศญี่ปุ่น เป็นวารสารที่มีค่า Impact factor 0.862
 
เป็นผลงานร่วมกับ นายอนุชิต ฮันเย็ก นักศึกษาปริญญาเอก และ ผศ.ดร. พิมผกา ฮาร์ดิง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการสังเคราะห์แม่เหล็กโคบอลต์เฟอร์ไรต์ ด้วยวิธีโซล-เจล (โครงการวิจัยได้รับทุนจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และ ศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทางด้านส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

2. เรื่อง Synchrotron X-ray absorption spectroscopy study of self-assembled nanoparticles synthesized from Fe(acac)3 and Pt(acac)2 ลงพิมพ์ในวารสาร Journal of Nanomaterials ปี 2012 article ID 758429 ซึ่งจัดพิมพ์โดย Hindawi Publishing ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นวารสารที่มีค่า Impact factor 1.675
 
เป็นผลงานร่วมกับ นายคมกริช โชคพระสมบัติ นักศึกษาปริญญาเอก และ ผศ.ดร. พิมผกา ฮาร์ดิง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, น.ส. สุจิตรา จันดารักษ์ และ ผศ.ดร. รัตติกร ยิ้มนิรัญ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการใช้การเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอ็กซ์จากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ศึกษาอนุภาคแม่เหล็ก เหล็ก-พลาตินัม (โครงการวิจัยได้รับทุนจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และ ศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทางด้านส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

3. เรื่อง Frequency-dependent magnetoelectricity of CoFe2O4-BaTiO3 particulate composites ลงพิมพ์ในวารสาร Transactions of Nonferrous Metals Society of China ลำดับที่ 21 หน้า 2438-2442 ซึ่งจัดพิมพ์โดย Nonferrous Metals Society ประเทศจีน ร่วมกับ Elsevier เป็นวารสารที่มีค่า ISI Impact factor 0.676
 
เป็นผลงานร่วมกับ น.ส.อัจฉรา คำกองแก้ว นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ผศ.ดร. พงศกร จันทรัตน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, รศ.ดร. สันติ แม้นศิริ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ ดร. ธีระพนธ์ แย้มวงษ์ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ในการศึกษาคอมโพสิตของวัสดุไพอิโซอิเล็กตริกแบเรียมไททาเนตกับแม่เหล็กโคบอลต์เฟอร์ไรต์

4. เรื่อง Morphology and properties of RF sputtered cobalt thin films ลงพิมพ์ในวารสาร International Journal of Physical Sciences ลำดับที่ 7 หน้า 1820-1827 ซึ่งจัดพิมพ์โดย Academic Journals ประเทศไนจีเรีย เป็นวารสารที่มีค่า ISI Impact factor 0.54
 
เป็นผลงานร่วมกับ นายธวัชชัย จันทร์ทอง นักศึกษาปริญญาโท และ ดร. วัชรี รัตนสกุลทอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ดร. สุปรีดิ์ พินิจสุนทร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการศึกษาสมบัติของฟิล์มแม่เหล็กโคบอลต์ที่เตรียมด้วยวิธีสปัตเตอริง

5. เรื่อง Implementation of edge detection algorithms to characterize magnetic micropillars patterned by x-ray lithography ลงพิมพ์ในวารสาร International Journal of Physical Sciences ลำดับที่ 7 หน้า 1959-1966 ซึ่งจัดพิมพ์โดย Academic Journals ประเทศไนจีเรีย เป็นวารสารที่มีค่า ISI Impact factor 0.54
 
เป็นผลงานร่วมกับ นายอุดมโชค พรหมสุวรรณ นักศึกษาปริญญาโท และ อ. เยาวเรศ ศิริสถิตย์กุล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, นาย ชาญวุฒิ ศรีผึ้ง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ในการใช้โปรแกรมประมวลผลภาพตรวจสอบโครงสร้างแม่เหล็กที่ผลิตขึ้นด้วยเอ็กซ์เรย์ลิโทกราฟฟี (โครงการวิจัยได้รับทุนจากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน))

6. เรื่อง Longitudinal and polar MOKE magnetometry of magnetoresistive cobalt thin films prepared by thermal evaporation ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Sains Malaysiana ลำดับที่ 41 หน้า 617-621 ซึ่งจัดพิมพ์โดย Universiti Kebangsaan ประเทศมาเลเซีย เป็นวารสารที่มีค่า ISI Impact factor 0.152
 
เป็นผลงานร่วมกับ นายยุทธนันต์ ปานสงฆ์ นักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ นายสุรเชษฐ์ รัตนสุภรณ์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ในการใช้วิธีทางแสงศึกษาสมบัติแม่เหล็กของฟิล์มโคบอลต์ (โครงการวิจัยได้รับทุนจากงบประมาณแผ่นดิน ผ่านมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

7. เรื่อง Magnetic and dielectric properties of natural rubber and polyurethane composites filled with cobalt ferrite ได้รับการตอบรับลงพิมพ์ในวารสาร Plastics, Rubber and Composites: Macromolecular Engineering ซึ่งจัดพิมพ์โดย Maney Publishing ประเทศสหราชอาณาจักร เป็นวารสารที่มีค่า ISI Impact factor 0.374
 
เป็นผลงานร่วมกับ นายอนุชิต ฮันเย็ก นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ ผศ.ดร. พงศกร จันทรัตน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการผสมแม่เหล็กโคบอลต์เฟอร์ไรต์ลงในพอลียูรีเทน และยางธรรมชาติ แล้ววัดสมบัติเชิงแม่เหล็กไฟฟ้า (โครงการวิจัยได้รับทุนจากงบประมาณแผ่นดิน ผ่านมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์)

8. เรื่อง Magnetic properties of NdFeB-coated rubberwood compositesได้รับการตอบรับลงพิมพ์ในวารสาร International Journal of Minerals, Metallurgy and Materials ซึ่งจัดพิมพ์โดย University of Science and Technology Beijing ประเทศจีน ร่วมกับ Springer-Verlag เป็นวารสารที่มีค่า ISI Impact factor 0.322
 
เป็นผลงานร่วมกับ น.ส. จุรีพร หนูดำ นักศึกษาปริญญาโท, ดร. วัชรี รัตนสกุลทอง และ ผศ.ดร. พงศกร จันทรัตน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ผศ.ดร. นิรันดร มาแทน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการรีไซเคิลแม่เหล็กถาวรกลับมาใช้ในการทาไม้

9. เรื่อง Small-angle x-ray scattering spectra of iron-based magnetic fluids ได้รับการตอบรับลงพิมพ์ในวารสาร Materiali in Tehnologije ซึ่งจัดพิมพ์โดย Institute of Metals and Technology ประเทศสโลวีเนีย เป็นวารสารที่มีค่า ISI Impact factor 0.312
 
เป็นผลงานร่วมกับ นายคมกริช โชคพระสมบัติ นักศึกษาปริญญาเอก นายประเวทย์ ร่างสง่า นักศึกษาปริญญาโท และ ผศ.ดร. พิมผกา ฮาร์ดิง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, ผศ.ดร. พงศกร จันทรัตน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ผศ.ดร. เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ผศ.ดร. ศุภกร รักใหม่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ในการใช้การเทคนิคการกระเจิงรังสีเอ็กซ์จากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ศึกษาอนุภาคแม่เหล็กเหล็ก-พลาตินัม และ เหล็กออกไซด์ที่แขวนลอยในของเหลว

10. เรื่อง Color and hardness of durian chips irradiated by controlled low power microwave อยู่ระหว่างการแก้ไขตามผลประเมินของวารสาร Food Science and Biotechnology ซึ่งจัดพิมพ์โดย Korean Food Science and Technology ประเทศเกาหลี ร่วมกับ Springer เป็นวารสารที่มีค่า ISI Impact factor 0.505
 
เป็นผลงานร่วมกับ น.ส. ฉันทนา สุวรรณโชติ และ น.ส. จริญา วีรกุล นักศึกษาฝึกงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, ผศ.ดร. หมุดตอเล็บ หนิสอ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในการผลิตแผ่นทุเรียนอบกรอบ ด้วย คลื่นไมโครเวฟต่อเนื่องที่กำลังต่ำ (โครงการวิจัยได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผ่านหน่วยวิจัยเทคโนโลยีโมเลกุล)

11. เรื่อง Dependence of hysteresis loops on thickness of thin nickel films prepared by RF sputtering ลงพิมพ์ในวารสาร Advanced Materials Research ลำดับที่ 335-336 หน้า 1443-1447 ซึ่งจัดพิมพ์โดย Trans Tech ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (วารสารไม่อยู่ในฐานข้อมูล ISI)
 
เป็นผลงานร่วมกับ นายพิชัย ศิริแสงสว่าง นักศึกษาปริญญาโท และ ดร. วัชรี รัตนสกุลทอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ดร. สุปรีดิ์ พินิจสุนทร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการศึกษาสมบัติของฟิล์มแม่เหล็กนิกเกิลที่เตรียมด้วยวิธีสปัตเตอริง

12. เรื่อง Characterization of cobalt films on X-ray lithographic micropillars ลงพิมพ์ในวารสาร Advanced Materials Research ลำดับที่ 335-336 หน้า 1000-1003 ซึ่งจัดพิมพ์โดย Trans Tech ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (วารสารไม่อยู่ในฐานข้อมูล ISI)
 
เป็นผลงานร่วมกับ น.ส. พัชรา ศุกลรัตน์ นักศึกษาปริญญาโท และ ดร. วัชรี รัตนสกุลทอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นาย ชาญวุฒิ ศรีผึ้ง สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ในการใช้เอ็กซ์เรย์ลิโทกราฟฟี ผลิตโครงสร้างแม่เหล็กระดับไมโครที่จัดเรียงเป็นรูปแบบแน่นอน (โครงการวิจัยได้รับทุนจากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน))

13. เรื่อง Simulation of magnetic fields from helical planar undulator by Radia program อยู่ระหว่างการแก้ไขตามผลประเมินของวารสาร Walailak Journal of Science and Technology ซึ่งจัดพิมพ์โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (วารสารไม่อยู่ในฐานข้อมูล ISI)
 
เป็นผลงานร่วมกับ อ. สุธน ศรีวะโร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ ผศ.ดร. ศุภกร รักใหม่ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ในการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Radia มาใช้จำลองสนามแม่เหล็กในอุปกรณ์แทรกของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน (โครงการวิจัยได้รับทุนจากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน))
 
อนึ่ง บทความทั้ง 13 เรื่องเป็นส่วนหนึ่งของต้นฉบับทั้งหมด 20 เรื่องที่เขียนในรอบหนึ่งปี ในวาระโอกาสสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ครบ 20 ปี สำหรับต้นฉบับที่เหลืออยู่ระหว่างการประเมินโดยวารสารในประเทศ บราซิล (2), จีน, อินเดีย, โปแลนด์, เยอรมนี และ สหราชอาณาจักร