Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ตัวแทนเยาวชนภาคใต้จากโรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษาสุดเจ๋ง คว้า 3 รางวัล การแข่งขันรอบสุดท้ายภายใต้งาน“รวมพลคน KidBright” KidBright Developer Conference 2018 (KDC18)

อัพเดท : 13/11/2561

1729



ศูนย์บริการวิชาการ ในนามตัวแทนของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมเป็นศูนย์ประสานงานโครงการความร่วมมือศูนย์ประสานงานเพื่อเข้าร่วมจัดกิจกรรมสื่อการสอนโปรแกรมมิ่งในโรงเรียน “Coding at School Project” ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ นำทีมตัวแทนเยาวชนคนเก่ง 3 ทีม ตัวแทนภาคใต้ เข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศภายใต้งาน“รวมพลคน KidBright” KidBright Developer Conference 2018 (KDC18) เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ณ The Street กรุงเทพมหานคร

ทั้งนี้ 3 ทีม ตัวแทนภาคใต้ที่เข้าร่วมการแข่งขันประกอบด้วย

1.โรงเรียนสทิงพระวิทยา จังหวัดสงขลา
ชื่อโครงงาน : นวัตกรรมเครื่องตากปลาอัจฉริยะ โดยใช้บอร์ด KidBright
ผู้พัฒนาโครงงาน 1.ด.ช. ศิวกร ด้วงชู (หัวหน้าทีม) 2.ด.ช. อรรถพล ประเสริฐ 3.ด.ญ. กรรณิการ์ สิงห์ทอง 4.นางสาว อาร์ซีซ๊ะ ดินอะ (อาจารย์ที่ปรึกษา)

2.โรงเรียนบ้านปลายคลอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อโครงงาน: ระบบควบคุมการรดน้ำภายในโรงเพาะเห็ดอัตโนมัติ
ผู้พัฒนาโครงงาน 1.ด.ช.ธนพล รักรอด (หัวหน้าทีม) 2.ด.ช.วิริทธิ์พล สายสามพราน 3.นางอรุณโรจน์ ยิ่งคำนึง (อาจารย์ที่ปรึกษา), 2.นางอมลวรรณ นาคกุล (อาจารย์ที่ปรึกษา)

3.โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อโครงงาน: “ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์”: การประดิษฐ์เครื่องดนตรีอย่างง่าย ด้วย KidBright
ผู้พัฒนาโครงงาน 1.ด.ญ.รวิพร รอดภัย (หัวหน้าทีม) 2.ด.ญ.กันธิมา บุญเกิด 3.ด.ช.ฑิฆัมพร ไชยณรงค์ 4.นาย ปิยะ พละคช (อาจารย์ที่ปรึกษา) 5.นาย ชัยนุรักษ์ ศรีวิสุทธิ์ (อาจารย์ที่ปรึกษา)

กิจกรรมนี้ได้รับเกียรติจาก นางสุวรรณี คำมั่น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิด และเยี่ยมชมผลงานของเยาวชนตัวแทนภูมิภาคต่างๆ จำนวน 30 โครงงาน โดยสรุปผลการแข่งขันดังนี้

รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 30,000.- บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) พร้อมศึกษาดูงานที่ Science Center ที่ประเทศสิงคโปร์
ชื่อโครงงาน: อุปกรณ์ให้อาหารปลาดุกและทำความทำความสะอาดบ่อแบบอัตโนมัติ โรงเรียนปลาปากวิทยา จ.นครพนม
โดย ด.ช. ธีรภพ ปุรณกรณ์ นายกะวีวัฒน์ แก่นยางหวาย ด.ช.รัฐกร จวงจันทร์

รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 20,000.- บาท
ชื่อโครงงาน: กรงเลี้ยงชะมดอัตโนมัติ โรงเรียนอนุบาลแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
โดย นาย ภาคิน วิเศษเงินทวี ด.ช. เดชา พิมลมณีกุล ด.ช. ชวิน วิเศษยิ่งไพศาล

รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 10,000.- บาท
ชื่อโครงงาน: “ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์”: การประดิษฐ์เครื่องดนตรีอย่างง่าย ด้วย KidBright โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา จ.นครศรีธรรมราช
โดย ด.ญ. รวิพร รอดภัย ด.ญ. กันธิมา บุญเกิด ด.ช. ฑิฆัมพร ไชยณรงค์

รางวัลชมเชย 2 รางวัลๆ ละ 5,000.- บาท
1) เครื่องเตือนภัยน้ำท่วม 24 ชั่วโมง โรงเรียนสองพิทยาคม จ.แพร่ โดย ด.ญ. ศุภัทรา ศรีวิราช ด.ช. ธนธรณ์ ชาวสอง ด.ญ. สุวพิชญ์ สมบัตินันท์

2) เครื่องอ่านบัตรประจำตัวด้วยแสง ID card reader using light sensor โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา กรุงเทพมหานคร โดย ด.ญ.รยา วรเศวต

นอกจากนั้น โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษายังได้รับรางวัลยอด Link สูงสุด จากการนำเสนอผลงานผ่านโซเชียลมีเดีย และรางวัลขวัญใจ Makers ซึ่งรางวัลขวัญใจ Makers ผู้พัฒนาโครงงานจากโรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อร่วมการประกวด “Hong Kong Student Science Project Competition (HKSSPC) 2019” โดยส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในเวที HKSSPC 2018 ระหว่างวันที่ 21 - 25 มีนาคม 2562 ณ Hong Kong Science Park, Shatin, New territories, Hong kong ต่อไป

โครงการความร่วมมือศูนย์ประสานงานเพื่อเข้าร่วมจัดกิจกรรมสื่อการสอนโปรแกรมมิ่งในโรงเรียน “Coding at School Project” มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีบทบาทหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ รับสมัคร และร่วมคัดเลือกโรงเรียนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อรับมอบบอร์ด KidBright อบรมและสร้าง The Trainers ของศูนย์ประสานงาน เป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงให้แก่ครูและนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ โดยประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้

1.กิจกรรมความร่วมมือพิธีลงนามความร่วมมือศูนย์ประสานงานสื่อการสอนโปรแกรมมิ่งในโรงเรียน“Coding at School Project” วันที่ 8 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
2.กิจกรรมความร่วมมือพิธีเปิดตัว โครงการ Coding at School power by KidBright KidBright วันที่ 8 มิถุนายน 2561 ณ ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์ รังสิต
3.อบรมการใช้งานบอร์ด KidBright สำหรับบุคลากรฝึกสอน (Trainer) วันที่ 12 มิถุนายน 2561 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
4.อบรมการใช้งานบอร์ด KidBright (อบรมการสร้าง The Trainers ของศูนย์ประสานงาน) วันที่ 16 กรกฎาคม 2561 ณ ห้องระเบียงบรรณ 1 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์ประสานงานดำเนินการอบรมและสร้าง The Trainers ของศูนย์ประสานงาน ซึ่งมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพี่เลี้ยงของทีมที่เข้าร่วมการประกวดโครงงาน
5.อบรมการใช้งานบอร์ด KidBright (อบรมครู) รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 10 – 11 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุม 1 อาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน 100 โรงเรียน
6.กิจกรรมรอบข้อเสนอโครงงาน ศูนย์ประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แต่งตั้งคณะกรรมการทำการตรวจประเมินข้อเสนอโครงงานเพื่อทำหน้าที่หน้าที่คัดเลือกตัวแทนเยาวชนส่วนภูมิภาค (ภาคใต้) ที่มีศักยภาพและเหมาะสมสำหรับส่งเป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันระดับประเทศ
7.พิธีมอบทุน และเข้าค่าย Workshop พร้อมพิจารณาคัดเลือกรอบที่ 2 (รอบนำเสนอ) วันที่ 15 - 16 กันยายน 2561 ณ อาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีจำนวนโรงเรียนและจำนวนโครงงานที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกรอบที่ 1 โครงงานสิ่งประดิษฐ์จากบอร์ด KidBright ศูนย์ประสานงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 15 โครงงาน พร้อมรับทุนสนับสนุนโครงงานละ 1,000 บาท และมีผู้พัฒนาโครงงานที่ผ่านการพิจารณาเข้าร่วมการประกวดรอบชิงชนะเลิศ ภูมิภาคภาคใต้ จำนวน 4 โครงงาน
8.งานการประชุมวิชาการและนิทรรศการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ประจำ 2561 “NECTEC ACE 2018” วันที่ 25 กันยายน 2561 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้พัฒนาโครงงานที่ผ่านการพิจารณาเข้าร่วมการประกวดรอบชิงชนะเลิศ ภูมิภาคภาคใต้ จำนวน 4 โครงงาน นำโครงงานและจัดทำโปสเตอร์ ข้อมูลโครงงานมาจัดแสดงต่อสาธารณชนในงานการประชุมวิชาการและนิทรรศการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ประจำปี 2561 “NECTEC ACE 2018” พร้อมรับทุนสนับสนุนโครงงานละ 3,000 บาท

ทั้งนี้ ศูนย์บริการวิชาการ ได้รับความร่วมมือภายใต้การนำทีมของอาจารย์กรกต สุวรรณรัตน์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ ผศ.ดร.อนุรักษ์ ถุงทอง ตลอดจนคณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา จากสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมเป็นที่ปรึกษาโครงการ และร่วมเป็นพี่เลี้ยงให้แก่ครูและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ต้นจนจบแข่งขัน

 

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://cas.wu.ac.th/2018/11/13/kid-final/