Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

ม.วลัยลักษณ์ ออกแถลงการณ์ ยืนยันไม่ได้สั่งห้าม อ.เรียนต่อ ป.เอก ม.ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ

อัพเดท : 25/06/2562

2196



สืบเนื่องจากกรณี ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Nunsasorn Khunsawat โพสต์ข้อความถึงมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งปัจจุบันมีศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นอธิการบดี โดยอ้างว่า อธิการบดีไม่อนุญาตให้อาจารย์ของมหาวิทยาลัย ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ออกแถลงการณ์ยืนยันแล้วว่ามหาวิทยาลัยไม่ได้สั่งห้าม อ.เรียนต่อ ป.เอก ม.ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ตามที่ได้กล่าวอ้าง โดยได้มีการออกแถลงการณ์ เรื่อง “นโยบายการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ของคณาจารย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์” โดยมีใจความดังนี้ “เนื่องจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีวิสัยทัศน์ในการ “ก้าวสู่สากล” และเพื่อเป็นการเสริมสร้างขีด ความสามารถในการแข่งขันของบัณฑิตวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงปรับปรุงโครงสร้างการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษใหม่ โดยจัดตั้งสถาบันภาษาเพื่อรับผิดชอบการสอนภาษาอังกฤษในหมวดการศึกษาทั่วไป (General Education) โดยจัดจ้างอาจารย์ชาวต่างประเทศเป็นผู้สอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90และกําหนดให้นักศึกษาทุกคนที่ เข้าเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2561) เป็นต้นไป ต้องเรียนภาษาอังกฤษ 5 วิซา เป็นเวลา 2ปี และเมื่อขึ้นชั้นปีที่2 ทุกวิชาต้องสอนเป็นภาษาอังกฤษ ร้อยละ 25และขึ้นปี 3เป็นต้นไปให้ทุกวิชาสอนเป็นภาษาอังกฤษ ร้อยละ 50เพื่อให้มั่นใจว่านักศึกษาทุกคนจะได้มีโอกาสในการพัฒนาภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง และสามารถใช้ภาษาอังกฤษ ในชีวิตประจําวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อสําเร็จเป็นบัณฑิต

ในการดําเนินการตามนโยบายดังกล่าว จึงต้องมีระบบพัฒนาอาจารย์ผู้สอนให้มีสมรรถนะในการใช้ ภาษาอังกฤษในการสอนด้วย มหาวิทยาลัยจึงได้กําหนดให้อาจารย์ทุกท่านที่มีความต้องการในการพัฒนา ภาษาอังกฤษสําหรับการสอน เข้าโครงการตามที่มหาวิทยาลัยกําหนดส่วนท่านอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาโท และต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ทางมหาวิทยาลัยสนับสนุนให้ ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ เพื่อจะได้มีความรู้ทั้งด้านวิชาการและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ

เหตุผลอีกประการหนึ่งในการส่งเสริมอาจารย์ให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพราะปัจจุบันมหาวิทยาลัยยังมี สัดส่วนของอาจารย์ที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกต่างประเทศน้อยกว่าที่สําเร็จการศึกษาในประเทศ นอกจากนี้สําหรับสํานักวิชาที่ยังขาดแคลนอาจารย์ เช่น สํานักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยก็มี นโยบายให้รับบัณฑิตเกียรตินิยมที่สําเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เพื่อให้ทุนไปศึกษาต่อ ระดับปริญญาโทและเอกในต่างประเทศ อีกด้วยสําหรับนักศึกษาที่สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในประเทศไทย ก็มีนโยบายให้ไปศึกษาระดับหลัง ปริญญาเอกในต่างประเทศ (Post Doctoral Program) เพื่อเป็นประสบการณ์ทั้งทางวิชาการและการพัฒนาการ ใช้ภาษาไปด้วยพร้อมกัน

ดังนั้น การที่มีผู้ไปโพสต์ข้อความว่า อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ประกาศไม่ให้อาจารย์ของ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยระบุชื่อเฉพาะเจาะจงนั้นไม่เป็นความจริง จึงขอแถลงมาให้ทราบโดยทั่วกัน ณ ที่นี้ และหากพบว่ามีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายโดยไม่สุจริต มหาวิทยาลัยจําเป็นที่จะต้องดําเนินการตามกฎหมายต่อไป

อย่างไรก็ตามล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Nunsasorn Khunsawat ได้โพสต์ข้อความระบุว่า สืบเนื่องจากกรณีที่ดิฉันโพสต์ผ่านFB. ว่ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สั่งห้ามมิให้อาจารย์ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก รัฐศาสตร์จุฬา/และรัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์นั้น ขอนำเรียนว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงเป็นความเข้าใจผิดและตีความคลาดเคลื่อนของดิฉันเอง แท้ที่จริงแล้วมหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริมให้อาจารย์ศึกษาต่อต่างประเทศ ตามแถลงการณ์นี้

เรื่องดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อท่านอธิการบดี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์ และต่อชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดิฉันจึงกราบขออภัยท่านและขอกราบเรียนมาและนำเรียนให้สังคมทราบโดยทั่วกัน ว่ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไม่มีนโยบายดังกล่าวแต่อย่างใด

ข่าวจากสื่อมวลชน