Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์นักเรียนโรงเรียนชุมชนใหม่ ภายใต้การดำเนินโครงการบริการวิชาการรับใช้สังคม (Social engagement) ประจำปี 2563

อัพเดท : 16/01/2563

972



เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2563 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยชนก คมเม่น และนายณัฏฐกฤติ ว่องธนกฤต สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ พร้อมด้วยคณะทำงานศูนย์บริการวิชาการ ร่วมกับ สำนักกิจกรรมเพื่อสังคม เครือเบทาโกร ลงพื้นที่เพื่อประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์นักเรียนโรงเรียนชุมชนใหม่ พื้นที่ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา หมู่ที่ 8 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

“โครงการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์นักเรียนโรงเรียนชุมชนใหม่" ภายใต้การดำเนินโครงการบริการวิชาการรับใช้สังคม (Social engagement) ประจำปี 2563 ซึ่งได้พัฒนาโครงการด้วยกระบวนการ ลงพื้นที่สำรวจปัญหาความต้องการด้านการศึกษาของโรงเรียนและชุมชน โดยโครงการนี้มีการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และโรงเรียนชุมชนใหม่ ในการเข้ามามามีส่วนร่วมกระบวนการดำเนินโครงการ เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้รับการปลูกฝังทัศนคติที่ดี เกิดแรงบันดาลใจ และให้เห็นถึงความสำคัญของการเรียนวิทยาศาสตร์ในการใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน และนักเรียนมีการพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์อย่างเห็นได้ชัด ครูผู้สอนได้เรียนรู้กระบวนการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) จากประสบการณ์ตรง โครงการดังกล่าวจะมีกระบวนการดำเนินงาน ตั้งแต่การออกแบบรูปแบบกิจกรรมร่วมกับครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดำเนินกิจกรรมพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ “การเจริญเติบโตของพืช” ในชั่วโมงเรียนลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ อย่างต่อเนื่องจำนวน 5 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง โดยจะเชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้แปลงเกษตร ภายในศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชาเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนชุมชนใหม่ ในกิจกรรมทุกครั้งจะประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ และเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมทั้งหมดจะนำข้อมูลมาประมวลและวิเคราะห์การพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในโครงการซึ่งกิจกรรมจะเริ่มดำเนินการในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม พ.ศ. 2563

ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยชนก คมเม่น ในฐานะหัวหน้าโครงการและคณะทำงาน จึงได้จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางการดำเนินโครงการ ตลอดจนแลกเปลี่ยนแนวทางการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ และเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชาเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนชุมชนใหม่ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้นอกจากจะทำให้เกิดความเข้าใจและร่วมเติมเต็มรูปแบบของกิจกรรมให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มากขึ้นแล้วยังนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือพัฒนาการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ให้มีคุณภาพต่อไปในอนาคต





รายละเอียดเพิ่มเติม : http://cas.wu.ac.th/