Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผนึกกำลังขับเคลื่อนยกระดับชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา "เพิ่มรายได้ สร้างงาน พัฒนาคน"

อัพเดท : 11/06/2563

1501

          ตามที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมกิจการประชาสังคม โดยมีภารกิจสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนชุมชนในพื้นที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้เกิดความเข้มแข็งแบบองค์รวมตามแนวทางต้นไม้แห่งความสุข WU Happy Tree ครอบคลุม ยกระดับอาชีพ การศึกษา สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และสังคมวัฒนธรรม โดยพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเชิงประจักษ์ ผ่านการกำหนดนโยบายและติดตามการดำเนินกิจกรรมการขับเคลื่อนยกระดับชุมชนโดยวิธีการวิชาการรับใช้สังคม ด้วยกระบวนการบูรณาการความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน โดยคณะกรรมการฯ ประกอบด้วยบุคคลทั้งบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย และหน่วยงานบริหารระดับท้องถิ่น ในพื้นที่ชุมชนรายรอบอำเภอท่าศาลา 


          ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะคณะกรรมการและเลขานุการได้รับมอบหมายจากประธานกรรมการ ให้มีการจัดการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมกิจการประชาสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (เฉพาะกรรมการที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย) ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2563 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องโมคลาน อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อร่วมกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการดําเนินงานของคณะกรรมการ โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ชุมชนสาธิตวลัยลักษณพัฒนา โดยมี รองอธิการฝ่ายบริหาร (ประธานคณะกรรมการฯ) เป็นประธานการประชุมร่วมกับคณะกรรมการฯ ซึ่งประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายต่าง ๆ ผู้บริหารระดับหน่วยงาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการวิชาการทั้งนี้ศูนย์บริการวิชาการ ได้รายงานข้อมูลทั่วไปชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา ตลอดจนนำเสนอแนวคิดและแผนงานเพื่อยกระดับชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนาบนพื้นฐานโจทย์พื้นที่และความต้องการ ตลอดจนนำเสนอโครงการวิชาการรับใช้สังคม (Social engagement) ปี พ.ศ. 2563 ในมิติด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ การศึกษา สิ่งแวดล้อมและสังคมวัฒนธรรมในพื้นที่เป้าหมาย 


          ข้อเสนอแนะจากการประชุมของคณะกรรมการฯ เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา มีสาระสำคัญการประชุม ดังนี้  
1)กำหนดโจทย์ชุมชนและลำดับความสำคัญบนพื้นฐานของความต้องการของชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา
2)เน้นการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนเพิ่มมากขึ้น กิจกรรมเศรษฐกิจชุมชนมีผลิตภาพ (Productivity) เพิ่มขึ้น เป็นต้น 
3)ยกระดับการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนสู่ระดับนโยบาย ถือว่าเป็นภารกิจสำคัญของมหาวิทยาลัย โดยมีการส่งเสริมการทำงานพัฒนาชุมชนทั้งระดับจุลภาค (Micro) และระดับมหภาค (Macro) 
4)สร้างการรับรู้ต่อสาธารณชนมีเพิ่มการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การทำงานวิชาการรับใช้สังคมของคณาจารย์บนช่องทางออนไลน์  
5)จัดกลุ่มโครงการและลักษณะงานออกเป็น  2 แผนงานหลัก ประกอบด้วย แผนงานที่ 1 การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic improvement) สร้างงาน สร้างรายได้ ลดต้นทุน เน้นโครงการที่มีผลกระทบและดำเนินการต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน โดยเชื่อมโยงความต้องการของตลาด การเพิ่มมูลค่าผลผลิต รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มองค์กรชุมชนในพื้นที่ และแผนงานที่ 2 การพัฒนาศักยภาพมนุษย์ (Human capacity development) มุ่งดูแลพัฒนาประชาชนในชุมชนทุกช่วงวัย วัยเรียน (ส่งเสริมให้เด็ก เก่ง ดี มีสุข) วัยทำงาน (พัฒนาทักษะใหม่ ๆ) วัยผู้สูงอายุ (คุณภาพชีวิตอย่างมีความสุข) โดยแผนงานดังกล่าว ควรมีการระบุกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนและจัดทำตัวชี้วัดของมิติต่าง ๆ ให้เป็นรูปธรรม
6)รวบรวมข้อมูลหรือผลงานจากการดำเนินโครงการพันธกิจชุมชนสัมพันธ์ในพื้นที่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ในประเด็น จำนวนประชาชนที่ได้รับการจ้างงานในมหาวิทยาลัย ร้านค้าชุมชนในมหาวิทยาลัย รวมทั้งทบทวนปัญหาอุปสรรค และถอดบทเรียนการดำเนินโครงการในอดีต เพื่อสนับสนุนการออกแบบการทำงานในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ 

ทั้งนี้ คณะทำงานเลขานุการ ฯ จะนำคำแนะนำและข้อเสนอแนะดังกล่าวไปสรุป เพื่อจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการประชุมในครั้งถัดไป

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://cas.wu.ac.th/