Location

0 7567 3000

ผลงานและรางวัล

นักศึกษา ม.วลัยลักษณ์ ทีม "More kit” คว้ารางวัลชมเชยพร้อมโล่เกียรติยศระดับประเทศ งาน Research to Market 2021

อัพเดท : 18/02/2565

749

13 ก.พ.65 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอทุยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.วลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า หลังจากอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพจัดประกวดแผนธุรกิจ (Pitching Day) โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ครั้งที่ 9 ประจำปี 2564 (Research to Market: R2M9- 2021) ระดับภูมิภาค ได้คัดเลือกตัวแทนของภาคใต้ไปแข่งขันในระดับประเทศ จำนวน 5 ทีม ตัวแทนทีมนักศึกษาจากม.วลัยลักษณ์ คือทีม More kit ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

การแข่งขันในระดับประเทศเจ้าภาพคือ ม.ขอนแก่น มีทีมนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 22 ทีมจากมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ ภาคเหนือ (7 มหาวิทยาลัย/9 ทีม) ภาคกลาง  1 ทีม และภาคตะวันออก 1 ทีม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (3 มหาวิทยาลัย/6 ทีม) และภาคใต้ (3 มหาวิทยาลัย/5 ทีม) เข้าร่วมแข่งขัน ประกวดออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting

ผลปรากฎว่า ทีม "More kit” สามารถคว้ารางวัลชมเชยในงาน Research To Market Thailand 2021 ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ

นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทีม More kit  ซึ่งประกอบด้วย นางสาวจิรัฎฐิติกาล วิวรรณ (หัวหน้าทีม), นางสาวภัทรวดี ลาเต๊ะเก๊ะ, นางสาวนัสรินทร์ บิญอะหมัด นักศึกษาชั้นปี 4 หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ และ นางสาว อริสรา รุ่งโรจน์ ,นางสาว พรธิตา พนาโยธากุล นักศึกษาชั้นปี 1 หลักสูตรการตลาดดิจิทัลเเละการสร้างเเบรนด์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีอาจารย์ ผศ.ดร.สืบตระกูล วิเศษสมบัติ หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์เป็นที่ปรึกษา

นางสาวจิรัฎฐิติกาล วิวรรณ หัวหน้าทีมทีม More kit กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยลักษณ์ เข้าร่วมประกวดบนเวทีระดับประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีชื่อว่า " TR kit” ชุดทดสอบตรวจหาเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ชนิดทริโคพัยตอน (Trichophyton rubrum detection kit) มีจุดเด่นคือ ง่าย แม่นยา และรวดเร็ว ซึ่งสามารถส่งมอบคุณค่าได้ 3 ทาง คือ คุณค่าที่ให้กับโรงพยาบาล โดยจะช่วยในการลดต้นทุนในการวินิจฉัยได้มากถึง 20% ชุดตรวจจะไปลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในห้องปฏิบัติการลงแต่ยังคงมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยในการลดขยะติดเชื้อที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการอีกด้วย นอกจากนี้คุณค่าดังกล่าวยังส่งต่อไปถึงผู้ป่วยอีกด้วยเนื่องจากผู้ป่วยจะได้รับการรักษาที่รวดเร็ว และประหยัดค่ารักษาที่ไม่มีความจาเป็น และสุดท้ายคือคุณค่าทางเศรษฐกิจ โดยสามารถลดการนำเข้าและเพิ่มการส่งออกของอาหารเลี้ยงเชื้อ

“สิ่งสำคัญคือทีมเราได้รับประสบการณ์ดีๆในเวทีระดับประเทศ มีเครือข่ายเพื่อนนักศึกษาต่างมหาวิทยาลัยที่เข้ารร่วมแข่งขัน ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่ได้มาศึกษาในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แห่งนี้ ที่นี่สอนให้ดิฉันเป็นทั้งคนดีและมีความรู้ทางวิชาการ การแข่งขันครั้งนี้ขอขอบคุณสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบตระกูล วิเศษสมบัติ ทีมที่ปรึกษา ทีมโค้ช และทีมพี่เลี้ยง ที่สำคัญขอขอบคุณทุกคนที่ช่วยส่งกำลังใจให้กับทีมของเราด้วยนะคะ”นางสาว พรธิตา พนาโยธากุล กล่าว