Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

อาจารย์ มวล. เป็นที่ปรึกษางานวิจัย "ทุเรียนอบกรอบ" ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ

อัพเดท : 14/01/2556

3005

นักศึกษาฝึกงานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ต่อยอดการใช้เตาไมโครเวฟที่ ผศ.ดร. หมุดตอเล็บ และคณะ ดัดแปลงให้ส่งกำลังต่อเนื่องสำหรับการอบปลาแห้งและใช้ในวิชาปฏิบัติการฟิสิกส์ 2 (PHY-104) เพื่อหาเงื่อนไขที่สามารถใช้อบเนื้อทุเรียน ให้กลายเป็นแผ่นทุเรียนกรอบ ด้วยคลื่นไมโครเวฟกำลังต่ำกว่า 20 วัตต์ ที่ความดันบรรยากาศ จนสำเร็จเป็นกระบวนการใหม่ที่ไม่ใช้น้ำมันทอด และไม่ต้องใช้ระบบสุญญากาศ

ทุเรียนทอด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากในท้องตลาด แต่เนื่องจากมีองค์ประกอบไขมันมากและเกิดกลิ่นหืนเมื่อเก็บไว้นาน จึงเป็นที่มาของงานวิจัยพัฒนาแผ่นทุเรียนกรอบ (Durian chip) ด้วยวิธีอื่นทดแทน ตัวอย่างงานวิจัยที่ผ่านมาได้แก่ งานของ Jindaporn Jamradloedluk, Adisak Nathakaranakule, Somchart Soponronnarit, Somkiat Prachayawarakorn มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่ใช้การอบด้วยลมร้อน และงานของ Swittra Bai-Ngew, Nantawan Therdthai, Pisit Dhamvithee มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ใช้การอบด้วยคลื่นไมโครเวฟ ในสภาวะสุญญากาศ

น.ส. ฉันทนา สุวรรณโชติ และ น.ส. จริญา วีรกุล นักศึกษาปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้เข้าฝึกงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 กับ ผศ.ดร. หมุดตอเล็บ หนิสอ ห้องปฏิบัติการวิจัยพลาสมาประยุกต์เพื่อการกสิกรรม และ รศ.ดร. ชิตณรงค์ ศิริสถิตย์กุล หน่วยวิจัยเทคโนโลยีโมเลกุล โดยต่อยอดการใช้เตาไมโครเวฟที่ ผศ.ดร. หมุดตอเล็บ และคณะ ดัดแปลง เพื่อหาเงื่อนไขที่สามารถใช้อบเนื้อทุเรียน ให้กลายเป็นแผ่นทุเรียนกรอบ ด้วยคลื่นไมโครเวฟกำลังต่ำกว่า 20 วัตต์ ที่ความดันบรรยากาศ จนสำเร็จเป็นกระบวนการใหม่ที่ไม่ใช้น้ำมันทอด และไม่ต้องใช้ระบบสุญญากาศ ซึ่งผลงานวิจัย เรื่อง Color and hardness of durian chips irradiated by controlled low power microwave ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Food Science and Biotechnology ปีที่ 21 เล่มที่ 6 ซึ่งเป็นวารสารที่จัดพิมพ์โดย Korean Food Science and Technology ประเทศเกาหลีใต้ ร่วมกับ Springer มีค่า ISI Impact factor 0.505 ในรูปแบบบทความวิจัยแบบสั้น (Research note) โดยได้ส่ง (submit) ในวันที่ 31 ธันวาคม พศ. 2554 และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ (published online) ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พศ. 2555

ผู้สนใจต่อยอดผลงานแผ่นทุเรียนอบกรอบสามารถติดต่อได้ที่ ผศ.ดร. หมุดตอเล็บ หนิสอ (nmudtorl@wu.ac.th)

นักศึกษาที่สนใจฝึกงาน เพื่อพัฒนาวิจัยสู่ระดับสากล ในสาขาเคมี ฟิสิกส์ วัสดุศาสตร์ นวัตกรรมเครื่องมือ และ นวัตกรรมวิทยาศาสตร์ศึกษา สามารถติดต่อ ผศ.ดร. หมุดตอเล็บ หนิสอ (nmudtorl@wu.ac.th) หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยพลาสมาประยุกต์เพื่อการกสิกรรม (หน่วยวิจัยความเป็นเลิศ) หรือ ผศ.ดร. พิมผกา ฮาร์ดิง (kphimpha@wu.ac.th) หัวหน้าหน่วยวิจัยเทคโนโลยีโมเลกุล
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.springerlink.com/openurl.asp?genre=article&id=doi:10.1007/s10068-012-