Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

ผอ.ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมเสวนาเวที Highlight Stage ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 (Thailand Research Expo 2025)

อัพเดท : 01/07/2568

112

          เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรศักดิ์ สวัสดี ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ และในฐานะหัวหน้าโครงการขยายผลธนาคารปูม้าฯ ร่วมเสวนา หัวข้อ “ธนาคารปูม้ายั่งยืนด้วยฐานพลังชุมชนชายฝั่ง” ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 (Thailand Research Expo 2025)” ณ เวที Highlight Stage ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ  ร่วมกับนักวิจัยภายใต้โครงการขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อ “คืนปูม้าสู่ทะเลไทย” ประกอบด้วย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิลนาจ ชัยธนาวิสุทธิ์ ประธานคณะทำงานศูนย์เรียนรู้ธนาคารสัตว์ทะเลเกาะสีชังฯในพระราชูปถัมภ์ฯ  คุณกนิษฐา จันทรศิริผู้จัดการส่วนความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และใบอนุญาต บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล นายสมภาพ วิทยา รองประธานธนาคารปูม้ากลุ่มประมงเรือเล็กบ้านพลา หาดพลา จังหวัดระยอง และรองศาสตราจารย์ ดร.ประพันธ์ศักดิ์ ศีรษะภูมิ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญการจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินการ ในงาน”มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 (Thailand Research Expo 2028)” ภายใต้เเนวคิด “Reseach for all เชื่อมต่ออนาคตไทยด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน 2568 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ หน่วยงานเครือข่ายในระบบวิจัยทั่วประเทศ

          โครงการขยายผลธนาคารปูม้าเพื่อ "คืนปูม้าสู่ทะเลไทย" โดยขับเคลื่อนกลไกสนับสนุนการวิจัยเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้มีความสมดุลตามระบบนิเวศน์ ส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรปูม้าที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่เรียกว่า "ธนาคารปูม้า" ซึ่งแต่เดิมเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านของกลุ่มชาวประมงใช้วิธีการนำแม่ปูม้าไข่นอกกระดองจากทะเลมาเพาะฟักในโรงเรือนให้ปูม้าได้เขี่ยไข่แล้วปล่อยคืนสู่ทะเล ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนปูม้าในทะเลด้วยวิธีธรรมชาติ ในขณะที่การวิจัยได้มาทำให้อัตราการรอดของลูกปูม้าสูงขึ้น และพัฒนาต่อยอดโดยพัฒนาวิธีเพิ่มอัตราการรอดของลูกปูม้าวัยอ่อนก่อนปล่อยลงสู่ทะเล และการถอดบทเรียนธนาคารปูม้าที่ประสบความสำเร็จจากความร่วมมือของภาครัฐ เอกชนและชาวประมเป็นพื้นที่ เครือข่ายภาคส่วนต่าง ๆ ทำให้จำให้จำนวนปูม้าในธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นทรัพยากรบริเวณขายฝั่งทะเลมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ชาวประมงมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เศรษฐกิจฐานรากของประเทศเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน

          ธนาคารปูม้าเป็นเครื่องมือหนึ่งในการแก้ปัญหาหรือยกระดับการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อตอบโจทย์การบริโภคที่ยั่งยืนตามแนวทาง SDG 2 (zero hunger) รวมทั้งฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลและชายฝั่ง SDG 14 (life below water) และมีเป้าหมายเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจสีน้ำเงิน และส่งเสริมสังคมคาร์บอนต่ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเล ซึ่งนับเป็นความสำเร็จและความภาคภูมิใจของการทำธนาคาร   ปูม้าอย่างยั่งยืนด้วยฐานพลังชุมชนชายฝั่ง

  
 

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://cas.wu.ac.th/archives/34515