Location

0 7567 3000

ข่าวเด่น

ม.วลัยลักษณ์จับมือกระทรวงวิทย์ฯเดินหน้าส่งเสริม Startup ในกลุ่มนักศึกษา มอบทุนพัฒนา 10 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ รวมกว่า 1 ล้านบาท

อัพเดท : 03/11/2560

1604



เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560 ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ เป็นประธานมอบเงินรางวัลสนับสนุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) ภายใต้โครงการ Innovative Startup ในงาน Walailak DEMO Day 2017 ให้แก่ทีมนักศึกษาผู้ที่ผ่านการคัดเลือกการแข่งขันการ Pitching จากสนามทั่วประเทศ จำนวน 10 ทีม ทีมละ 100,000 บาท รวมเป็นเงิน 1 ล้านบาท โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิยม กำลังดี รักษาการแทนผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวรายงาน และมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้ประกอบการ ภาคเอกชนและนักศึกษา ร่วมแสดงความยินดีพร้อมร่วมชมการแสดงผลงาน ที่บริเวณโถงกลาง อาคารอาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิยม กำลังดี กล่าวว่า การจัดงาน Walailak DEMO Day 2017 เป็นส่วนหนึ่งโครงการ Innovative Startup ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีเป้าหมายในการสร้างผู้ประกอบการในสถาบันการศึกษา พัฒนาการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา ซึ่งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้น โดยทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีกิจกรรม Startup Talk, Startup Boot Camp ให้กับนักศึกษาและจัดกิจกรรมเพื่อคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมนำเสนอทางธุรกิจ ในงาน Startup Thailand League ที่มีสนามแข่งขันกว่า 20 สนามทั่วประเทศ โดยผลการแข่งขันปรากฎว่ามีทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ผ่านการคัดเลือกจำนวน 10 ทีม เข้ารับเงินรางวัลสนับสนุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) ทีมละ 100,000 บาท เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นรูปเป็นร่างและสามารถใช้ได้จริงต่อไป

สำหรับรายชื่อ 10 ทีมที่ได้รับรางวัลเงินสนับสนุนพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ มีดังนี้
1) ทีม MUSEUM WOW
ผลิตภัณฑ์ : MUSEUM WOW
แอพลิเคชั่นที่จะทำให้การเยี่ยมชมโบราณสถานเปลี่ยนไป ด้วยข้อมูลที่มีการอั้พเดทจากผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งใช้เทคโนโลยี 3D ในการแสดงรายละเอียดของโบราณวัตถุ
สมาชิกในทีม : นายอานนท์ ศรีเผด็จ, นายศรายุทธ นุ่นสังข์, นางสาวกมลชนก คงทรัพย์
อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.พูลพงษ์ บุญพราหมณ์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์

2)ทีม LAB
ผลิตภัณฑ์ : LAB
แอพลิเคชันแปลผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการจากโรงพยาบาลหรือคลีนิกทางการแพทย์
สมาชิกในทีม : นายปิยะวิทย์ สาสุข, นางสาวรุ่งนภา กรีทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.อรวรรณ สาระกุล สำนักวิชาสหเวชศาสตร์

3)ทีม Coin Tech
ผลิตภัณฑ์ : Coin Tech
ระบบอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ
สมาชิกในทีม : นายชยพล มาช่วย, นายธนธรณ์ ซ้วนตั้น
อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.วัฒนพงศ์ เกิดทองมี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร

4)ทีม The Flying
ผลิตภัณฑ์ : Siamshop
แอพพลิเคชั่นรวบรวมสินค้า OTOP มาไว้ในที่เดียว ช่วยอำนวยความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้า
สมาชิกในทีม : นายธันยา คงคาเพชร, นางสาวมนวดี อุทัยพันธ์
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์กรกต สุวรรณรัตน์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร

5)ทีม Herme(i)per
ผลิตภัณฑ์ : Herme(i)per
Platform รวมร้านถ่ายเอกสาร เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการที่ต้องการจัดทำเอกสาร
สมาชิกในทีม : นางสาวชุลิดา เอมรุจิ, นางสาวศิริรัตน์ ราชนิยม
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.กรัณรัตน์ ธรรมรักษ์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์

6)ทีม NAKED-EYE
ผลิตภัณฑ์ : G6PD
ชุดทดสอบคัดกรองภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD
สมาชิกในทีม : นางสาวรุ่งนภา กรีทอง, นายปิยะวิทย์ สาสุข
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.อรวรรณ สาระกุล สำนักวิชาสหเวชศาสตร์

7)ทีม SEEElEC
ผลิตภัณฑ์ : HELTO
ระบบที่ช่วยบริษัทหรือองค์กรต่างๆบริหารจัดการ การใช้ไฟฟ้าภายในองค์กร หรือตรวจสอบการใช้ไฟฟ้า ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
สมาชิกในทีม : นายกิตติศักดิ์ เจริญสุข, นายจตุรงค์ มาศพงค์, นายภรัณยู จินดาพล
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.สุรัสวดี กุลบุญ ก่อเกื้อ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร

8)ทีม Handhelp
ผลิตภัณฑ์ : Handhelp
แอพพลิเคชั่นล่าม ให้คนทั่วไปและผู้บกพร่องทางการได้ยินสามารถสื่อสารเชื่อมโยงความคิด ความรู้สึกถึงกันได้
สมาชิกในทีม : นางสาวฏอฮีเราะฮ์ ฮูซัยนี, นางสาวสุดารัตน์ ผิวอ่อน, นายพงศธร จันด้วง, นางสาวสิริพร พุทธวิริยะ, นางสาวชิดชนก ยีสมัน
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.กรัณรัตน์ ธรรมรักษ์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์

9)ทีม Heart industry
ผลิตภัณฑ์ : Heart industry
ระบบที่ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตตรวจสอบและบริหารจัดการ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับมอเตอร์ ก่อนที่มอเตอร์จะเกิดความเสียหายได้อย่างแม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
สมาชิกในทีม : นายฐิติวัสส์ เต็มเปี่ยม, นางสาวรุ่งกานต์ ยังอภัย
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.สุรัสวดี กุลบุญ ก่อเกื้อ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร

10)ทีม GBOT
ผลิตภัณฑ์ : GBOT OMR
แอปพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับการตรวจสอบ ซึ่งแอปพลิเคชั่นจะใช้งานโดยการถ่ายรูปแล้วนำขึ้นไปประมวลผลแบบ clound computing
สมาชิกในทีม : นายประสิทธิ์ แซ่อุย, นายณรงค์ พรมนุช, นายศศิพงศ์ พรมทอง, นายธนกฤต สวนดี
อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์กรกต สุวรรณรัตน์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร

 

ข่าวและภาพโดยนายธีรพงศ์ หนูปลอด ส่วนสื่อสารองค์กร