Location

0 7567 3000

ข่าววิชาการ-วิจัย-สัมมนา

วิชาการรับใช้สังคมกับการยกระดับส่งเสริมสุขภาพเกษตรกรชาวสวนในพื้นที่ชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืน

อัพเดท : 08/04/2565

620

วิชาการรับใช้สังคมกับการยกระดับส่งเสริมสุขภาพเกษตรกรชาวสวนในพื้นที่ชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืน

         เมื่อวันที่ 5 และ 7 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิรพัฒน์ นาวารัตน์ รักษาการแทนรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และอาจารย์ ดร.จารุภา เลขทิพย์ อาจารย์สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ ร่วมกับ คณะทำงานคลินิกเทคโนโลยี ศูนย์บริการวิชาการ ลงพื้นที่ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด และบ้านแสงวิมาน ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดการถ่ายทอดเทคโนโลยี บริการให้คำปรึกษา กิจกรรมการยกระดับการส่งเสริมสุขภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ครั้งที่ 2 (กิจกรรมกินอยู่อย่างไรให้สุขภาพดี ช่วงเวลาปกติและช่วงเดือนรอมฎอน การประเมินสุขภาพของตนเองเบื้องต้น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงาน การทำแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังกิจกรรม รวมทั้งการทดลองติดตามผลกิจกรรมผ่านรูปแบบออนไลน์) (SDG3) ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Activity Based Learning พร้อมทั้งการบริการข้อมูลด้านการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมหลังประสบอุทกภัย (SDG2) แก่ผู้แทนเกษตรกรชาวสวน ผู้แทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ โดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการบริการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเทคโนโลยีการประกอบอาชีพ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

         อนึ่ง กิจกรรมดังกล่าว มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ร่วมดำเนินการตามแนวทางการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดจำนวนการตายและการป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากการปนเปื้อนและมลพิษทางอากาศ น้ำ และดิน เสริมขีดความสามารถสำหรับทุกประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพ และเป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน โดยการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และช่วยพัฒนาคุณภาพดินได้ ทั้งนี้ ศูนย์บริการวิชาการ ขอขอบคุณ คณาจารย์ ผู้แทนชุมชน ผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ที่ร่วมดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเป็นอย่างดียิ่ง

วิชาการรับใช้สังคมกับการยกระดับส่งเสริมสุขภาพเกษตรกรชาวสวนในพื้นที่ชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืน