ด้วยแนวคิดหลักของ ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ต้องการให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นแผ่นดินแห่งความรุ่งโรจน์ Walailak Land of Glory
สวนวลัยลักษณ์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2560-2561 เป็นสวนสาธารณะที่เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทั้งคณาจารย์ พนักงานและนักศึกษา พี่น้องประชาชนชาวอำเภอท่าศาลา ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและใกล้เคียง ตลอดจนผู้ที่มาเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยจากในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ในอนาคตหลังจากมีการเปิดโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สวนวลัยลักษณ์จะเป็นแหล่งให้ผู้มาใช้บริการของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ ได้พักผ่อน สร้างความสดชื่นได้ทั้งกายและใจ
สวนวลัยลักษณ์ ตั้งอยู่บริเวณถนนทางเข้ามหาวิทยาลัย ตรงข้ามกับโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีเนื้อที่ทั้งสิ้น 255 ไร่ แบ่งเป็นผืนน้ำ 130 ไร่และผืนดิน 125 ไร่ โดยภายในสวนวลัยลักษณ์จะมีจุดเด่นอยู่ที่ลานมโนราห์สีทอง มีระเบียงน้ำให้ผู้มาเยี่ยมเยียนได้นั่งพักผ่อน ให้อาหารปลา พร้อมนั่งชมพระอาทิตย์ตกดินผ่านภูเขาหลวงซึ่งเป็นทัศนียภาพ ที่งดงามยิ่งเป็นเบื้องหลัง
อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ของมหาวิทยาลัยลักษณ์ มีพื้นที่ประมาณ 1,350 ไร่ รองรับการบริการวิชาการ และเป็นแหล่งเรียนรู้ตามอัธยาศัย ให้แก่นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไปเข้ามาใช้บริการ รวมไปถึงการดำเนินการเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้กับจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งในปัจจุบันพื้นที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับอุทยานพฤกษศาสตร์ โดยมีพื้นที่หลักๆ ประกอบด้วย
1. พื้นที่ป่าดั้งเดิม ซึ่งสามารถพบไม้พื้นเมือง เช่น มะเมื่อย พุดน้ำ ชุมแสง ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีพื้นที่ เส้นทางศึกษาธรรมชาติที่ได้ปรับปรุงพัฒนาให้มีหอคอยที่ระดับความสูง 25 เมตร เพื่อชมเรือนยอดไม้ รวมไปถึงการจัดทำ เส้นทางเดินเชื่อมระหว่างหอคอยชมเรือนยอดไม้ จำนวน 2 หอคอย พื้นที่ด้านล่างของสะพานเรือนยอดยังเป็นแหล่งเรียนรู้สัตว์ขนาดเล็กที่อุทยานพฤกษศาสตร์ได้นำมาจัดแสดงในพื้นที่ธรรมชาติ
2. พื้นที่สำนักงาน เรือนพักรับรอง เป็นส่วนใจกลางของอุทยานพฤกษศาสตร์ โดยตัวอาคารหันหน้าเข้าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ บรรยากาศร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ โดยสามารรถให้บริการห้องพักทั้งระบบเครื่องปรับอากาศและพัดลมได้จำถึง 150 คน มีห้องประชุมขนาดเล็กรองรับบริการอบรม ประชุบด้วยกองไฟให้กับผู้เข้าใช้บริการได้อีกทางหนึ่ง ที่สามารถชื่นชมธรรมชาติอ่างเก็บน้ำได้ในช่วงของการเข้ารับบริการ
3. สวนสมุนไพร เป็นบริเวณที่ได้รับการพัฒนาให้มีการรวบรวมพืชสมุนไพร ตามหลักสาธารณสุขพื้นฐานและตามการใช้ประโยชน์ของการเรียนการสอนให้กับสำนักวิชาเภสัชศาสตร์ และสำนักวิชาแพทยศาสตร์ ทั้งนี้การดำเนินงานอยู่ภายใต้การดูแลของอุทยานพฤกษศาสตร์ในการจัดหาพืชสมุนไพรมาปลูกรวบรวมไว้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ รวมทั้งจัดทำป้ายสื่อความหมายให้แก่ผู้เข้าเยี่ยมชมได้รับทราบถึงประโยชน์ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด
4. พื้นที่ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้รายรอบพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งประกอบไปด้วยอาคารพิพิธภัณฑ์ธรรรมชาติวิทยาที่มีการจัดแสดงรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ ตั้งแต่ยอดเขาหลวง จนถึงใต้ท้องทะเล มีพื้นที่จัดแสดงทั้งสิ้น 17,000 ตารางเมตร (รวมน้ำตกและทะเลเทียม) แบ่งนิทรรศการภายในออกเป็นส่วนต่างๆ ที่สอดรับเชื่อมโยงกันผ่านศูนย์กลางห้องนิทรรศการเกริกไกรเจ้าฟ้านักอนุรักษ์ ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวการอนุรักษ์ทรัพยากรของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปสู่ห้องแห่งการเรียนรู้อีกจำนวน 6 ห้อง โดยพื้นที่นอกตัวอาคาร มีการจัดแสดงโรงเรือนไม้ทนแล้ง ไม้ทะเลทรายที่มีลักษณะอาคารรูปโดม มีพื้นเส้นผ่าศูนย์ถึง 20 เมตร ที่จัดแสดงลักษณะพืชพันธุ์ในเขตร้อน ไม้ทนแล้ง ซึ่งจัดแสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของพืชที่ปรับตัวให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแห้งแล้ง รวบรวมสายพันธุ์ไม้แปลกให้เข้าเยี่ยมชม และยังมีส่วนของพิพิธภัณฑ์สนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์ของมานิ ซึ่งเป็นการจำลองชีวิต ความเป็นอยู่ของคนร่วมกับป่าเพื่อส่งต่อการรับรู้ให้สู่คนภายนอกได้รับอย่างเหมาะสม
5. พื้นที่อาคารการเรียนรู้และแปลงรวบรวมพันธุกรรมกล้วย โดยตัวอาคารการเรียนรู้ เป็นแหล่งให้บริการวิชาการแก่นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการและสามารถเลือกทำกิจกรรมตามโปรแกรมที่วางไว้ได้ รวมไปถึงสามารถเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการของห้องภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับป่าจาก ห้องจัดแสดงการสต๊าฟสัตว์ เช่น สัตว์เลื้อยคลาน กระรอก หนูผี นกชนิดต่าง เต่าตนุ รวมไปถึงจัดแสดงโครงกระดูกวาฬขนาดใหญ่ และการจัดห้องร่างกายมนุษย์ที่แสดงอวัยวะของร่างกายมนุษย์ที่นำมาเป็นสื่อการเรียนรู้ที่สามารถมองเห็นได้จริง เหมาะแก่การเรียนรู้ของคนทุกเพศ ทุกวัย และในบริเวณอาคารการเรียนรู้ยังเป็นแหล่งรวบรวมพันธุกรรมกล้วยมากกว่า 70 สายพันธุ์ ซึ่งกล้วยที่ปลูกรวบรวมไว้จะประกอบไปด้วย กล้วยประดับ เช่น กล้วยวบัวส้ม กล้วยดารารัศมี ที่มีปลีสีสันสวยงาม กล้วยกินสด ส่วยกล้วยที่สามารถนำมากินสุกได้เลย เช่น กล้วยน้ำว้า สาวกระทืบหอ ไข่ หอมทอง ฯลฯ ภายในสวนมีป้ายสื่อความหมายบอกชนิดของกล้วยแต่ละชนิดกำกับไว้ เพื่อให้สามารถเป็นสื่อของการเรียนรู้สามารถสแกน QR Code ศึกษารายละเอียดเชิงลึก และยังมีการจำหน่ายหน่อกล้วยชนิดต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปปลูกสะสมกันได้อีกด้วย
6. บริเวณทางเข้าอุทยานพฤกษศาสตร์ เป็นจุด check in ที่ได้รับการพัฒนาให้มีสถาปัตยกรรมที่นำสมัยที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอ่างเก็บน้ำ อาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และแนวเขาหลวงที่ทอดยาวไปกับจุด check in ของป้ายอุทยานพฤกษศาสตร์ ภายใต้เนินดินยังมีร้านค้าจำหน่ายของที่ระลึก และร้านกาแฟที่ได้รวบรวมกาแฟพันธุ์พื้นเมืองมาจัดจำหน่ายให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชมอีกด้วย นอกจากนั้นบริเวณที่ยังเป็นจุดจอดรถ จุดขายตั๋ว โดยจะมีไฟฟ้าคอยให้บริการเข้าเยี่ยมชมภายในบริเวณต่างๆ ของอุทยานพฤกษศาสตร์อีกด้วย
อุทยานพฤกษศาสตร์ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2565 จะดำเนินการจัดทำโรงเรียนกล้วยไม้ขนาดใหญ่ และโรงเรือนอื่นๆ อีกจำนวน 8 โรงเรือน ที่นำมาจัดแสดงเลียนแบบธรรมชาติ ให้ผู้เข้ามาเยี่ยมชม มีแปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่ ห้องพักในสวนไผ่ไว้บริการเพิ่มจากบริเวณที่พักเดิมต่อไป
ทั้งนี้อุทยานพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความมุ่งมั่นพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นที่สุดในภาคใต้